แนวทางการใช้ประโยชน์จาก QR Code ในเอกสารทางราชการ

1)  ควรทำ URL Link กำกับ QR Code ด้วยไม่ว่าจะเป็นการส่งผ่าน eMail หรือการเผยแพร่ทาง Social Media

2) การใช้ QR Code ในแฟ้มเอกสาร/สิ่งพิมพ์ ควรระบุ URL Link กำกับด้วย โดยเฉพาะแฟ้มเอกสารควรกำหนดให้อยู่ในลักษณะของ clickable URL

3) QR Code ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 1.5 cm x 1.5 cm ตำแหน่งการจัดวางขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

4) ไม่ทำ QR Code กับเอกสารต้นเรื่องหรือเอกสารนำส่ง

เครื่องมือช่วยสร้าง QR Code

5) URL ที่ยาว หรือมีตัวอักษรไทย ควรแปลงเป็น Short URL ก่อนเผยแพร่

เครื่องมือช่วยสร้าง Short URL

การบริหารจัดการเอกสาร PDF

เอกสาร PDF (Portable Document Format) เป็นฟอร์แมตเอกสารดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาเพื่อเน้นการคงสภาพของเอกสารให้สามารถเรียกชมได้สะดวก โดยไม่มีปัญหาการจัดหน้ากระดาษ การจัดพารากราฟ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลาย ทั้งการส่งเอกสารเพื่อแลกเปลี่ยน การเก็บเป็นคลังเอกสาร การเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ นอกจากความสามารถการคงความเป็นเอกสารต้นฉบับได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เอกสาร PDF ยังสามารถกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้หลายระดับ ตั้งแต่การเปิดเรียกดู การคัดลอก จนถึงการสั่งพิมพ์

หน่วยงานต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสาร PDF เป็นอย่างมาก โดยมีวิธีดำเนินการหลัก 2 วิธีได้แก่

  1. การสแกนเอกสารต้นฉบับ ซึ่งมักจะเป็นตัวเล่ม หรือกระดาษ ให้เป็นเอกสารดิจิทัลรูปแบบ PDF
  2. การแปลง (Convert) หรือส่งออก (Export) เอกสารต้นฉบับที่อยู่ในรูปของแฟ้มดิจิทัล เช่น .doc, .xls, .ppt, .odt ให้เป็นเอกสารดิจิทัลรูปแบบ PDF

เอกสาร PDF ที่ได้มาด้วยวิธีดำเนินการข้างต้น หลายๆ แฟ้มเอกสารอาจจะสามารถนำไปใช้งานต่อยอดได้ และก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถใช้งานต่อยอดได้ ดังเช่น

  1. การสแกนเอกสารต้นฉบับด้วยความละเอียดต่ำ ทำให้เอกสาร PDF ที่ได้ ไม่สามารถผ่านกระบวนการ OCR ได้
  2. การสแกนเอกสารต้นฉบับโดยไม่ใส่ใจประเด็นความเอียงของเอกสารต้นฉบับ ทำให้ได้เอกสาร PDF ที่ไม่สวยงาม อ่านยาก
  3. การแปลงหรือส่งออกเอกสารต้นฉบับที่มีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลาย และหรือฟอนต์ที่ต้องการการติดตั้งเพิ่มเติม ทำให้เอกสาร PDF มีปัญหาเกี่ยวกับการแสดงผลฟอนต์
  4. การเสียเวลาจัดทำ Bookmark ของเอกสาร PDF

ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการบริหารจัดการเอกสาร PDF ของหน่วยงาน เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ขอนำเสนอประเด็นควรทราบและปรับใช้งาน ดังนี้

Read more

การฝังฟอนต์ในเอกสารของ MS Word

ทุกครั้้งที่มีการเลือกใช้ฟอนต์ที่ไม่ใช่ฟอนต์ทั่วไป หรือฟอนต์ที่มากับ windows เช่น ฟอนต์ตามประกาศราชการ TH Sarabun ควรบันทึกเอกสารพร้อมกับการฝังฟอนต์ดังกล่าวไปกับตัวเอกสารด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้เปิดสามารถทำงานกับเอกสารได้ทันที โดยไม่มีปัญหากับ “ฟอนต์” ที่อาจจะไม่มีในคอมพิวเตอร์ที่เปิดเอกสารนั้น อาจจะส่งผลให้ไฟล์เอกสารที่ต้องนำเผยแพร่ หรือใช้งานแลกเปลี่ยนกันเกิดปัญหาการแสดงผลที่ผิดพลาด รวมทั้งเป็นภาระในการหาฟอนต์มาติดตั้ง ผู้สร้างเอกสารควรใช้ความสามารถของ Microsoft Word, Microsoft PowerPoint ให้เต็มประสิทธิภาพ โดยการฝังฟอนต์ (embed font) ไปกับแฟ้มเอกสารก่อนเผยแพร่นะครับ แต่ก็น่าแปลกคำสั่งนี้มาพร้อมกับ Microsoft Office นานมากแล้วกลับพบว่ามีคนรู้จักใช้น้อยมาก ยังไงถือโอกาสนี้ใช้กันให้เป็นมาตรฐานเลยนะครับ

Read more

Tab Stop เครื่องมือดีๆ ช่วยควบคุมการพิมพ์

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าหลายคนไม่รู้จักเครื่องมือที่ Word, PowerPoint เตรียมให้ก็คือ การพิมพ์ตัวเลขทศนิยมดังภาพ

Read more

การกำหนดฟอนต์ใน Microsoft PowerPoint

มาปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกฟอนต์ การใช้ฟอนต์ ที่ถูกวิธีใน Microsoft PowerPoint กันนะครับ

Read more

Center Tab Stop กับการพิมพ์ส่วนท้ายหนังสือราชการ

เป็นอะไรที่งง มากกับการพิมพ์ ชื่อ ตำแหน่งในหนังสือราชการ … ซึ่งต้องจัดกึ่งกลางซึ่งกันและกัน

Read more

การทำงานกับรายการอ้างอิง/บรรณานุกรมด้วย Microsoft Word for Microsoft 365

Word ได้เพิ่มความสามารถการทำงานเอกสารวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์ รายงานให้สะดวกมากขึ้น โดยการเพิ่มฟังก์ชันใส่รายการอ้างอิงพร้อมจัดทำรายการบรรณานุกรมท้ายเล่มรูปแบบมาตรฐาน อย่าง APA, MLA, Chicago และอื่นๆ

การทำงานเริ่มต้นด้วยการเตรียมเนื้อหาวิชาการ ดังตัวอย่าง

Read more

แนวปฏิบัติในการเตรียมไฟล์ Excel + PDF ที่ได้คุณภาพ/มาตรฐาน

ในการสร้างงานด้วยโปรแกรม Excel หรือ สเปรดชีต ที่ส่วนใหญ่จะใช้งานในการเก็บข้อมูล เพื่อคำนวณ หรือทำรายงานต่างๆ ที่มีข้อมูลหลายคอลัมน์ และรายแถว แต่ในการสร้างงานด้วย excel หรือ โปรแกรมสเปรดชีต นั้น ผุ้สร้างจะต้องคำนึงถึงแนวทางในการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อที่จะสร้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน จะต้องเก็บข้อมูลแยกเป็นคอลัมน์ ไม่ควรรวมเป็นฟิลด์เดียวกัน เช่น ชื่อ เป็น 1 คอลัมน์ นามสกุล เป็นอีก 1 คอมลัมน์ เป็นต้น และเมื่อจะใช้งานค่อยนำฟังก์ชันมาช่วยในการแสดงผล หรือแบ่งไฟล์เป็นไฟล์สำหรับเก็บข้อมูล เมื่อนำเสนอก็เป็นอีก 1 ไฟล์ เป็นต้น โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติในการเตรียมไฟล์ Excel + PDF ดังนี้

แนวปฏิบัติในการเตรียมเอกสาร Word + PDF ที่ได้คุณภาพ/มาตรฐาน

แนวทางในการสร้างเอกสารด้วย Microsoft Office Word นั้น เพื่อให้ได้งานเอกสารที่มีคุณภาพ เอกสารไม่เพี้ยน เอกสารยังแสดงผลปกติ เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง หรือเปิดผ่านโปรแกรมในกลุ่ม Office และเอกสารไม่เสียหาย ผู้สร้างเอกสารควรเข้าใจงานพิมพ์ด้วย Style การใช้ Section เป็นต้น ทั้งนี้ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการสร้างเอกสาร Word และ PDF ที่ได้คุณภาพ/มาตรฐาน ดังนี้