การจำแนกหมวดหมู่ของผลงานตีพิมพ์ใน SciVal

ใน SciVal นอกจากจะจำแนกหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus แล้ว ยังสามารถจำแนกตามการจัดกลุ่มที่ใช้ใน QS World University Rankings, THE World University Rankings, Frascati Manual of the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการวิเคราะห์และรายงานข้อมูลหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มที่ใช้ในแหล่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ ยังมี map หมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus กับหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มต่างๆ ในรูปแบบ Excel sheet ให้ดาวน์โหลด ดังนี้

Read more

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดทำประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและจัดทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงขอให้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ไปพลางก่อน
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp

2020 NASA Technology Taxonomy

Technology Taxonomy ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจาก the Technology Area Breakdown Structure (TABS) of 2015 NASA Technology Roadmaps ซึ่ง TABS ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Taxonomy ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ด้วย เพื่อแสดงโครงสร้างภาพรวมเทคโนโลยีของ NASA ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของ NASA ในการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อภารกิจด้านอวกาศในอนาคต รวมถึงการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ สำหรับเวอร์ชั่น 2020 นี้ ประกอบด้วย TX หรือ taxonomy ทั้งสิ้น 17 สาขาวิชา (ปี 2015 ประกอบด้วย 15 สาขาวิชาหลัก และเรียกว่า Technology Areas หรือ TA) แบ่งกลุ่มไล่ระดับชั้น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 หมายถึง สาขาวิชาหลัก ระดับที่ 2 หมายถึง สาขาวิชาย่อย และ ระดับที่ 3 หมายถึง เทคโนโลยีย่อยภายใต้สาขาวิชาย่อย ตัวอย่างเช่น

  •  TX02 Flight Computing and Avionics
  •  TX02.1 Avionics Component Technologies
  • TX2.1.1 Radiation Hardened Extreme Environment Components and Implementations

แต่ละ TX ประกอบด้วยคำอธิบายว่าครอบคลุมเทคโนโลยีใดบ้าง พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ผู้นำไปศึกษาหรือปรับใช้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น

เวอร์ชั่น 2020 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2017 นำโดย NASA Center Technology Council (CTC) the Office of the Chief Technologist (OCT) และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ของ NASA ฉบับร่างของ 2020 NASA Technology Taxonomy จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของ NASA เช่น Technical Fellows, Systems Capability Leaders และ Principal Technologists เป็นต้น เพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ และปรับแก้ ตรวจสอบความสม่ำเสมอต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนศักยภาพและภารกิจของ NASA ให้มากที่สุด ระหว่างปี 2018 –   2019 NASA เชิญชวนให้ประชาคมเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดาวน์โหลดและศึกษาร่าง 2020 NASA Technology Taxonomy เพื่อขอความคิดเห็นหรือคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนเผยแพร่ฉบับจริงเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Bryan, W. (2019, สิงหาคม 20). 2020 NASA Technology Taxonomy [Text]. NASA. http://www.nasa.gov/offices/oct/taxonomy/index.html

ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ

การเขียนชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ ประกาศราชบัณฑิตยสถาน 14 กันยายน 2543 โดยใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

ทั้งนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมกับทีมนักวิจัยจากเนคเทค สวทช. พัฒนา แอปพลิเคชัน “ชื่อบ้านนามเมือง” เพื่อให้สะดวกต่อการสืบค้นและใช้งาน โดยดาวน์โหลดได้จาก Google Play และ iOS

นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำ รหัสมาตรฐานเขตการปกครองของไทย ลงวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่เป็นอีกแนวทางการเขียนชื่อจังหวัด ชื่ออำเภอ ดังรายละเอียด

  • รหัสท้องที่/พื้นที่ (จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน)
  • รหัสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รหัสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รวมทั้งยังมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ล่าสุดสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ปรับปรุงชื่อจังหวัดและเผยแพร่เป็น Open Data ซึ่งเข้าถึงได้ที่ data.go.th

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ฝ่ายดิจิทัลโซลูชันส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). ชุดข้อมูลจังหวัดและภูมิภาคในประเทศไทย—Open Government Data of Thailand. ฝ่ายดิจิทัลโซลูชันส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). https://data.go.th/dataset/proviceandregionthailand

A Toolkit by Any Other Name

What is in a name? Would a toolkit by any other name seem as useful? In this post, I delve into what comprises innovation “toolkits”—and make a stab at classifying them. What is the difference between a playbook and a manual? This taxonomy development is a step in building our resource to help public sector innovators navigate, sequence, and tweak tools and methods to facilitate their innovation journeys.

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

สาขาวิชาการของสภาวิจัยแห่งชาติ 12 สาขา และกลุ่มวิชาการ

ภาระกิจหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คือ การทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยมาตรฐานสาขาวิจัยเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ทราบว่าประเทศไทย มีงานวิจัยในแต่ละสาขาปริมาณเท่าใด อย่างไรก็ดีสาขาวิจัยที่ วช. กำหนด อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จึงขอนำเสนอรายละเอียดของสาขาวิจัยทั้ง 12 สาขา ดังรายละเอียด

01. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-คณิตศาสตร์และสถิติ 02-ฟิสิกส์ 03-ดาราศาสตร์ 04-วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ 05-ธรณีวิทยา 06-อุทกวิทยา 07-สมุทรศาสตร์ 08-อุตุนิยมวิทยา 09-ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
02. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์การแพทย์ 02-แพทยศาสตร์ 03-สาธารณสุข 04-เทคนิคการแพทย์ 05-พยาบาลศาสตร์ 06-ทันตแพทยศาสตร์ 07-สังคมศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
03. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-อนินทรีย์เคมี 02-อินทรีย์เคมี 03-ชีวเคมี 04-เคมีอุตสาหกรรม 05-อาหารเคมี 06-เคมีโพลิเมอร์ 07-เคมีวิเคราะห์ 08-ปิโตรเคมี 09-เคมีสิ่งแวดล้อม 10-เคมีเทคนิค 11-นิวเคลียร์เคมี 12-เคมีเชิงฟิสิกส์ 13-เคมีชีวภาพ 14-เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ 15-เภสัชอุตสาหกรรม 16-เภสัชกรรม 17-เภสัชวิทยาและพิษวิทยา 18-เครื่องสำอาง 19-เภสัชเวท 20-เภสัชชีวภาพ ฯลฯ
04. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ทรัพยากรพืช 02-การป้องกันกำจัดศัตรูพืช 03-ทรัพยากรสัตว์ 04-ทรัพยากรประมง 05-ทรัพยากรป่าไม้ 06-ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 07-อุตสาหกรรมเกษตร 08-ระบบเกษตร 09-ทรัพยากรดิน 10-ธุรกิจการเกษตร 11-วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร 12-สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร 13-วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ
05. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 02-วิศวกรรมศาสตร์ 03-อุตสาหกรรมวิจัย ฯลฯ
06. สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา 01-ประวัติศาสตร์ 02-โบราณคดี 03-วรรณคดี 04-ศิลปกรรม 05-ภาษา 06-สถาปัตยกรรม 07-ศาสนา ฯลฯ
07. สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-กฎหมายมหาชน 02-กฎหมายเอกชน 03-กฎหมายอาญา 04-กฎหมายเศรษฐกิจ 05-กฎหมายธุรกิจ 06-กฎหมายระหว่างประเทศ 07-กฎหมายวิธีพิจารณาความ ฯลฯ
08. สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 02-นโยบายศาสตร์ 03-อุดมการณ์ทางการเมือง 04-สถาบันทางการเมือง 05-ชีวิตทางการเมือง 06-สังคมวิทยาทางการเมือง 07-ระบบการเมือง 08-ทฤษฎีการเมือง 09-รัฐประศาสนศาสตร์ 10-มติสาธารณะ 11-ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง 12-เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ
09. สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-เศรษฐศาสตร์ 02-พาณิชยศาสตร์ 03-บริหารธุรกิจ 04-การบัญชี ฯลฯ
10. สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-สังคมวิทยา 02-ประชากรศาสตร์ 03-มานุษยวิทยา 04-จิตวิทยาสังคม 05-ปัญหาสังคมและสังคมสงเคราะห์ 06-อาชญาวิทยา 07-กระบวนการยุติธรรม 08-มนุษย์นิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม 09-พัฒนาสังคม 10-ภูมิปัญญาท้องถิ่น 11-ภูมิศาสตร์สังคม 12-การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ 13-คติชนวิทยา ฯลฯ
11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาการคอมพิวเตอร์ 02-โทรคมนาคม 03-การสื่อสารด้วยดาวเทียม 04-การสื่อสารเครือข่าย 05-การสำรวจและรับรู้จากระยะไกล 06-ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 07-สารสนเทศศาสตร์ 08-นิเทศศาสตร์ 09-บรรณารักษ์ศาสตร์ 10-เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร ฯลฯ
12. สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-พื้นฐานการศึกษา 02-หลักสูตรและการสอน 03- การวัดและการประเมินผลการศึกษา 04-เทคโนโลยีการศึกษา 05-บริหารการศึกษา 06-จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา 07-การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ 08-พลศึกษา ฯลฯ