ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อให้ประชาชนใช้คำทับศัพท์ได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ โดยสามารถเข้าถึงได้ที่ https://transliteration.orst.go.th/search

หลักเกณฑ์การทับศัพท์
1. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
2. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป
3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต, เชิ้ต, ก๊าซ, แก๊ส
4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม
5.  ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น

สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ที่ https://www.orst.go.th/iwfm_table.asp?a=36

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Statistics DivisionUnited Nations. (ม.ป.ป.). UNSD — United Nations Group of Experts on Geographical Names. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2022, จาก https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ Thai Health coding Center

http://thcc.or.th/homemedicin.php

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดย อ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย. (ม.ป.ป.). บัญชีข้อมูลรายการยาและรหัสยามาตรฐานของไทย. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2022, จาก https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php

ระบบเผยแพรสารสนเทศอุดมศึกษา

ระบบเผยแพร่สารสนเทศอุดมศึกษา ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล และสถิติด้านการอุดมศึกษาต่าง ๆ อาทิ

– ข้อมูลนักศึกษา
– ข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
– ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ
– ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

เข้าชมและใช้งานได้ที่
http://info.mhesi.go.th/newinfo/

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.). (ม.ป.ป.). ระบบเผยแพรสารสนเทศอุดมศึกษา. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2022, จาก http://info.mhesi.go.th/newinfo/

การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

การจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการเปรียบเทียบระหว่างกันและเป็นข้อมูลด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นให้สามารถสะท้อนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมของประเทศได้มากขึ้น

สรุปเกณฑ์สำคัญ

หลักการโดยรวม

  • จัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียน (หุ้นสามัญ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund:IF) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) โดยตราสารทางการเงินอื่นๆ ยังคงแยกไว้ต่างหาก
  • หมวดบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ไม่รวมอยู่ในการจัดกลุ่ม
  • รวมกลุ่มของหมวดธุรกิจที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกันไว้ด้วยกัน

หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

  • พิจารณาจัดบริษัทตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ
  • หากไม่มีธุรกิจใดสร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 จะใช้เกณฑ์ด้านกำไรพิจารณาเป็นเกณฑ์รอง ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาใช้หลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบตามที่เห็นสมควร
  • ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายแห่ง (Holding Company) บริษัทจะถูกจัดตามประเภทธุรกิจของบริษัทย่อยที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท
  • ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์จัดบริษัทจดทะเบียนใน SET ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ  โดยในปี 2558 เป็นต้นไป จะมีการจัดบริษัทจดทะเบียนใน mai ตามกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). SET – กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง—Simplified Regulations. การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html

 

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en

ตัวอย่าง Open Government ระดับท้องถิ่น

เว็บไซต์ “เทศบาลตำบลอาจสามารถ” ได้นำเสนอข้อมูลสถิติของเทศบาล มีทั้งเรื่องงบประมาณ ประเมินความโปร่งใส สถิติแก้ไขเรื่องร้องเรียน คุณภาพน้ำประปา เป็นตัวอย่างของ Open Government ระดับท้องถิ่นได้เลยครับ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เว็บไซต์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

เป็นข้อมูลประกอบอำนาจหน้าที่ภารกิจของ ศทก. ว่าซ้ำซ้อนกับ สถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา หรือไม่