เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Statistics DivisionUnited Nations. (ม.ป.ป.). UNSD — United Nations Group of Experts on Geographical Names. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2022, จาก https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติ (Statistical Standard Classification)

มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติที่เป็นสากล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. Reference Classifications เป็นการจัดจำแนกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสากล โดยจะต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การ แรงงานระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก เป็นต้น และเป็นประเภทของการจัดจำแนกที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกของตน โดยอาจใช้เป็นตัวอย่าง ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดจำแนก ทั้งในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ

2. Derived Classifications เป็นการจัดจำแนกที่จัดทำขึ้นโดยใช้ Reference Classifications เป็นหลัก เฉพาะในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ โดยมีการเพิ่มรายละเอียดหรือมี การปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ

3. Related Classifications เป็นการจัดจำแนกที่มีการอ้างอิงถึง Reference Classifications แต่มีเพียงบางส่วนที่สอดคล้องกับ Reference Classifications ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานสากลจึงไม่ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ได้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแบบ Reference Classifications ซึ่งเป็นการจัดจำแนกที่มีโครงสร้างและการจัดลำดับเช่นเดียวกับมาตรฐานสากลที่เป็นต้น ฉบับทุกประการ ทำให้ข้อมูลที่จัดจำแนกตามแบบดังกล่าว สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ทั้งในระดับของโครงสร้างหลักและในแต่ละระดับย่อยของการจัดจำแนก และในการจัดทำ มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแต่ละเรื่อง สำนักงานฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ขึ้นมาพิจารณา

โครงสร้างของInternational Standard Industrial Classification of All Economic Activities (ISIC Rev. 4)

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). มาตรฐานสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้น 31 มกราคม 2022, จาก http://statstd.nso.go.th/classification/default.aspx

การจำแนกหมวดหมู่ของผลงานตีพิมพ์ใน SciVal

ใน SciVal นอกจากจะจำแนกหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus แล้ว ยังสามารถจำแนกตามการจัดกลุ่มที่ใช้ใน QS World University Rankings, THE World University Rankings, Frascati Manual of the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการวิเคราะห์และรายงานข้อมูลหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มที่ใช้ในแหล่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ ยังมี map หมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus กับหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มต่างๆ ในรูปแบบ Excel sheet ให้ดาวน์โหลด ดังนี้

Read more

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดทำประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและจัดทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงขอให้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ไปพลางก่อน
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp

2020 NASA Technology Taxonomy

Technology Taxonomy ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจาก the Technology Area Breakdown Structure (TABS) of 2015 NASA Technology Roadmaps ซึ่ง TABS ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Taxonomy ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ด้วย เพื่อแสดงโครงสร้างภาพรวมเทคโนโลยีของ NASA ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของ NASA ในการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อภารกิจด้านอวกาศในอนาคต รวมถึงการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ สำหรับเวอร์ชั่น 2020 นี้ ประกอบด้วย TX หรือ taxonomy ทั้งสิ้น 17 สาขาวิชา (ปี 2015 ประกอบด้วย 15 สาขาวิชาหลัก และเรียกว่า Technology Areas หรือ TA) แบ่งกลุ่มไล่ระดับชั้น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 หมายถึง สาขาวิชาหลัก ระดับที่ 2 หมายถึง สาขาวิชาย่อย และ ระดับที่ 3 หมายถึง เทคโนโลยีย่อยภายใต้สาขาวิชาย่อย ตัวอย่างเช่น

  •  TX02 Flight Computing and Avionics
  •  TX02.1 Avionics Component Technologies
  • TX2.1.1 Radiation Hardened Extreme Environment Components and Implementations

แต่ละ TX ประกอบด้วยคำอธิบายว่าครอบคลุมเทคโนโลยีใดบ้าง พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ผู้นำไปศึกษาหรือปรับใช้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น

เวอร์ชั่น 2020 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2017 นำโดย NASA Center Technology Council (CTC) the Office of the Chief Technologist (OCT) และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ของ NASA ฉบับร่างของ 2020 NASA Technology Taxonomy จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของ NASA เช่น Technical Fellows, Systems Capability Leaders และ Principal Technologists เป็นต้น เพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ และปรับแก้ ตรวจสอบความสม่ำเสมอต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนศักยภาพและภารกิจของ NASA ให้มากที่สุด ระหว่างปี 2018 –   2019 NASA เชิญชวนให้ประชาคมเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดาวน์โหลดและศึกษาร่าง 2020 NASA Technology Taxonomy เพื่อขอความคิดเห็นหรือคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนเผยแพร่ฉบับจริงเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Bryan, W. (2019, สิงหาคม 20). 2020 NASA Technology Taxonomy [Text]. NASA. http://www.nasa.gov/offices/oct/taxonomy/index.html

ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ

การเขียนชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ ประกาศราชบัณฑิตยสถาน 14 กันยายน 2543 โดยใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

ทั้งนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมกับทีมนักวิจัยจากเนคเทค สวทช. พัฒนา แอปพลิเคชัน “ชื่อบ้านนามเมือง” เพื่อให้สะดวกต่อการสืบค้นและใช้งาน โดยดาวน์โหลดได้จาก Google Play และ iOS

นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำ รหัสมาตรฐานเขตการปกครองของไทย ลงวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่เป็นอีกแนวทางการเขียนชื่อจังหวัด ชื่ออำเภอ ดังรายละเอียด

  • รหัสท้องที่/พื้นที่ (จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน)
  • รหัสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รหัสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รวมทั้งยังมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ล่าสุดสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ปรับปรุงชื่อจังหวัดและเผยแพร่เป็น Open Data ซึ่งเข้าถึงได้ที่ data.go.th

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ฝ่ายดิจิทัลโซลูชันส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). ชุดข้อมูลจังหวัดและภูมิภาคในประเทศไทย—Open Government Data of Thailand. ฝ่ายดิจิทัลโซลูชันส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). https://data.go.th/dataset/proviceandregionthailand

แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ

บัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)

ที่มา : https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-005/54417-2/

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (1 พิมพ์ครั้งที่). สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-005/54417-2/

มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือการจัดทำมาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

การจัดทำมาตรฐานข้อมูล วิธีการจัดตั้งคณะทำงาน และกระบวนการจัดทำรายการมาตรฐานข้อมูลร่วม ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติในการพัฒนาระบบข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงกระบวนการและข้อมูลระหว่างระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร