แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570

“บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน” มุ่งยกระดับภาครัฐไทยสู่เป้าหมายการให้บริการที่ตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ การสร้างความโปร่งใส ที่เน้นการเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนโดยไม่ต้องร้องขอและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเป็นภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป แผนรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ข้างต้นไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1: ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างมูลค่าเพิ่มอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 4: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

Read more

กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566

ข้อ 27/7 ในหมวดนี้ “พัสดุส่งเสริมดิจิทัล” หมายความว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์อุปกรณ์อัจฉริยะ บริการด้านดิจิทัล เนื้อหาดิจิทัล (digital content) รวมถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรือตัวกลางที่นำพาผู้ใช้ให้เข้าไปถึงระบบต่างๆ ที่หลากหลายของอุปกรณ์ทำงานร่วมกัน และการให้บริการซอฟต์แวร์แบบคลาวด์ (cloud computing) โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (software as a service) รวมทั้งฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่มีระบบฝังตัวหรือสมองกลฝังตัว (embedded system) ที่มีระบบประมวลผลที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านดิจิทัลตามที่สำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนด

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2566). กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566. ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A054N0000000000100.pdf

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2566 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐ และเอกชนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้เกิดการร่วมมือในข้อมูลขนาดใหญ่ของหน่วยงานของรัฐและเอกชนสำหรับการแก้ไขปัญหา การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการให้บริการการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สมควรจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นเป็นองค์การมหาชน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริม ประสาน และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืน สำหรับสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้น เรียกว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สขญ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Big Data Institute (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า “BDI” โดยให้สถาบันมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และอาจตั้งสำนักงานสาขาได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

หน้าที่ของสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่

การจัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์ และหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  2. ส่งเสริม ประสาน และให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการให้บริการ หรือการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  3. ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาหรือเป็นที่ปรึกษาด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน
  4. ส่งเสริมหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการสร้างนวัตกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพการบูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศ
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจด้านการวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศ
  6. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรของประเทศด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  7. ดำเนินการอื่นเพื่อพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายเพื่อบูรณาการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ สถาบันอาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันหรือร่วมดำเนินการกับสถาบันตามมาตรานี้ได้

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2023). พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่  (องค์การมหาชน) พ.ศ.  2566. ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A034N0000000000500.pdf

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566

pdf-iconประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดท าบัญชีข้อมูลภาครัฐและ แนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เพื่อกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคำอธิบาย ชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ สามารถบูรณาการ ให้บริการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ

โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่
มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ
มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ. (2023, มีนาคม 27). ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มรด. 3-1: 2565 และ มรด. 3-2 : 2565). Digital Government Standard. https://standard.dga.or.th/dg-std/5725/

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ…

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการส่ง การเก็บรักษา เอกสารหลักฐานหรือหนังสือ และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 1 ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดที่ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตนกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เพื่อยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้บริการภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และต้องมีระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศตามที่ประกาศบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ข้อ 2 ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดที่ประสงค์จะจัดทำเอกสารหลักฐานหรือหนังสือเพื่อยื่นหรือส่งให้แก่กรมสรรพากโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นนอกจากการดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตามรูปแบบ ขนาด ประเภท และรายการข้อมูลที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2566). ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการส่ง การเก็บรักษา เอกสารหลักฐานหรือหนังสือ และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์. ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D038S0000000007300.pdf

การใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงิน

การใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงินโดยที่มาตรา 15 วรรค 1 ของกฎหมายปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติรับรองให้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายและการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของรัฐ
ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ประชาชนจึงมีสิทธิใช้และหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับเอกสารหรือหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าประเภทหรือชนิดใด เช่น ไฟล์ PDF หรือภาพทางดิจิทัล และจะปฏิเสธไม่รับหรือไม่ดำเนินการให้ เพียงเพราะเหตุที่ผู้ยื่นมีการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มิได้
ศึกษารายละเอียดได้ที่มาตรา 15 ของพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). การใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงิน. ราชกิจจานุเบกษา. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/063/T_0001.PDF

ประกาศเรื่อง การแสดงบัตรประจำตัวประชาชนผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)

กรมการปกครองขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) เพื่อสร้างต้นแบบและนวัตกรรมใหม่ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ

กรมการปกครองขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตังตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)กรมการปกครอง ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) เพื่อสร้างต้นแบบและนวัตกรรมใหม่ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐในระยะแรกกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานจำนวน 100,000 คนทั่วประเทศ โดยนำร่องกับงานบริการระบบการจองคิวขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า (Queue Online) และการตรวจสอบข้อมูลของตนเองที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ(Linkage Center) ทั้งนี้ เมื่อผ่านการประเมินผลแล้วจะได้ดำเนินการขยายผลไปยังงานบริการอื่นๆ ของภาครัฐในระยะต่อไป โดยจะกำหนดเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ทุกสำนักทะเบียนอำเภอ และสำนักทะเบียนท้องถิ่นทั่วประเทศ (ยกเว้นศูนย์บริการร่วมอำเภอ…ยิ้ม) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

กรมการปกครอง. (2565, December 26). ระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง – สำนักบริหารการทะเบียน. https://www.bora.dopa.go.th/app-d-dopa/

Read more

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570

ด้วยพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 44(3) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อกำหนดและกำกับทิศทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยใช้แนวทางตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมุ่งเน้นให้ คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต และสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยท่านสามารถดาวน์โหลด (ฉบับสมบูรณ์) อ่าน และ ทำความเข้าใจได้ที่ QR Code บนภาพ หรือคลิกเพื่อ PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

หรืออ่านเอกสารสรุปสาระสำคัญแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสารสรุปสาระสำคัญ

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาวตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2022). แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566—2570. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาวตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). https://www.tsri.or.th/content/31/thailand-sri-plan/

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. 2565

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๕

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๕. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/078/T_0036.PDF

พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล  การให้บริการสื่อกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้ประกอบการผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะคิดค่าบริการหรือไม่ก็ตามแต่ไม่รวมถึงบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีไว้เพื่อเสนอสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลรายเดียวหรือบริษัทในเครือซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ไม่ว่าจะเสนอสินค้าหรือบริการแก่บุคคลภายนอกหรือแก่บริษัทในเครือ

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ : 

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. ๒๕๖๕. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/078/T_0017.PDF