ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง  หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล  พ.ศ.  2565. ราชกิจจานุเบกษา. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/292/T_0007.PDF

คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยง และแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เวอร์ชั่น ๑.๐

สคส. เผยแพร่ “คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล”
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้จัดทำคู่มือดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. (2565). คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยง และแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เวอร์ชั่น ๑.๐. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. https://www.mdes.go.th/uploads/tinymce/source/สคส/คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล%20v1-0.pdf

 

ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570)

นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่และอำนาจ เสนอนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 42 และมาตรา 43 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นี้ใช้เป็นแผนแม่บท ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมที่ครอบคลุมในทุกมิติ และเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ มาตรา 9 (3) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สำหรับเป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยซเบอร์ในสถนการณ์ปกติและในสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติ และกรอบนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565—2570). ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=139D288S0000000000700

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ โดยพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 บัญญัติให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ส่งผลให้กรอบระยะเวลา 5 ปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มต้น ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งเป็นระยะ 5 ปีที่สอง ของยุทธศาสตร์ชาติ

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  13  (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF

พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 12 มาตรา 15 วรรคสอง มาตรา 19 และมาตรา 22 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่มิใช่หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) บัญญัติให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.  2565. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/063/T_0001.PDF

ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

pdf-icon ดาวน์โหลดเอกสาร

ความสำคัญของ Digital ID

ประเทศไทยสามารถรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ (Covid-19) ได้เป็นอย่างดีจากความสามารถในการปรับตัวของคนไทยทุกคน หน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องหาช่องทางอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ประชาชน เร่งรัดการทำงานให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ติดต่อกันทางออนไลน์ได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น หน่วยงานรัฐจึงต้องมีการให้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยก่อนที่จะเข้าถึงบริการออนไลน์ ประชาชนต้องทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการก่อน ซึ่งการที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอน และวิธีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจและตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย และ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงปลอดภัยในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน สร้างความมั่นใจและทำให้ประชาชนติดต่อกับภาครัฐทางออนไลน์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

Read more

แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาในภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับใช้ภายในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือเป็นการเสนอแนะแนวปฏิบัติวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ได้ตามระดับความพร้อม ซึ่งเนื้อหาได้อ้างอิงจากกฎหมาย มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเท่านั้น

PDF Pic ดาวน์โหลด เอกสารแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2022, October 3). มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ—ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565). Digital Government Standard. https://standard.dga.or.th/dga-std/5212/

 

PDPA Compliance Guideline : แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA

เมื่อองค์กรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ในการดำเนินธุรกิจ องค์กรก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งใน ด้านวิธีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร การรักษาความ ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ PDPA กำหนดไว้
PDPA Compliance Guideline แนวทางฉบับย่อนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรที่กำลังจะเริ่มต้น ดำเนินการให้องค์กรของตนสอดคล้องกับ PDPA โดยจะอธิบาย ให้เห็นถึงแนวทางการเริ่มดำเนินการและทำให้องค์กรเข้าใจใน ขั้นตอนที่ควรดำเนินการมากยิ่งขึ้น

– ตรวจสอบระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กรเชิงลึก
– จัดทำเอกสารทางกฎหมาย
– บริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กร

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – Thai version

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – English version

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Data Wow Co., Ltd. (2022). PDPA Compliance Guideline: แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA. Data Wow Co., Ltd. https://pdpacore.com/

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันมีประเทศ เขตการปกครองหรือเมืองหลวง เกิดขึ้นใหม่ บางประเทศแยกตัวเป็นอิสระจากกัน บางประเทศเปลี่ยนระบอบการปกครองและเปลี่ยนชื่อประเทศ บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้เปลี่ยนเมืองหลวงหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ ประกอบกับสำนักงนราชบัณฑิตยสภาได้แก้ไขการเขียนชื่อประเทศเขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามการออกสียงของเจ้าของภาษา และแก้ไขตัวสะกดชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาปรับปรุงและจัดทำเพิ่มขึ้นอีกหลายภาษาสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลจึงได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

บัดนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงให้ยกเลิกประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แล้วกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ดังแนบท้ายประกาศนี้แทน จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่องกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0028.PDF

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอว่า ในปัจจุบันชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สถานะ และ เขตการปกครอง บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้ย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ประกอบกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้จัดทำประกาศ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2565 ขึ้นใหม่ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เห็นชอบให้ใช้ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทางราชการถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดซื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง  กำหนดชื่อประเทศ  ดินแดน  เขตการปกครอง  และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0013.PDF