การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวทางดิจิทัล

ด้วย กรมการปกครอง ใด้ตำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางติจิทัล(DOPA Digital ID) เพื่อสร้างต้นแบบ และนวัตกรรมหม่ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการโช้งานบริการภาครัฐ ในระยะแรกกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานจำนวน 100,000 คน จากทั่วประเทศโดยนำร่องกับงานบริการระบบการจองคิว ขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า (Queue Online) และการตรวจสอบข้อมูลของตนเองที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชน และการบริการภาครัฐ(Linkage Center) ทั้งนี้เมื่อผ่านการประเมินผลแล้วจะได้ดำเนินการขยายผลไปยังงานบริการอื่น ๆ ของภาครัฐในระยะต่อไป โดยจะกำหนดเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวหนทางดิจิทัล (DOPA-Digtal ID) ทุกสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นทั่วประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563

คู่มือการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)

(สำหรับเจ้าหน้าที่สานักทะเบียนอาเภอ/สานักทะเบียนท้องถิ่น)

กฎกระทรวง เรื่องกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล

กฎกระทรวง เรื่องกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล

“การพิสูจน์ตัวตน” หมายความว่า กระบวนการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ

คุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งสมารถบ่งบอกหรือจำแนกบุคคลไต้ และการตรวจสอบความเชื่อมโยง

ระหว่างบุคคลกับข้อมูลตังกล่าว

“การยืนยันตัวตน” หมายความว่า กระบวนการตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน เพื่อยืนยัน

คุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งสามารถบ่งบอกหรือจำแนกบุคคลที่ใช้สิ่งที่ยืนยันตัวตนนั้น

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). กฎกระทรวง กำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/010/T_0007.PDF

ระบบเผยแพรสารสนเทศอุดมศึกษา

ระบบเผยแพร่สารสนเทศอุดมศึกษา ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล และสถิติด้านการอุดมศึกษาต่าง ๆ อาทิ

– ข้อมูลนักศึกษา
– ข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
– ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ
– ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

เข้าชมและใช้งานได้ที่
http://info.mhesi.go.th/newinfo/

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.). (ม.ป.ป.). ระบบเผยแพรสารสนเทศอุดมศึกษา. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2022, จาก http://info.mhesi.go.th/newinfo/

แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับ eMail

การบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

  • สำนักงานจะจัดให้มีบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่พนักงานและพนักงานโครงการทุกคน เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในสำนักงานและการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน
  • เพื่อให้การสื่อสารแก่บุคคลภายนอกเป็นไปอย่างมีเอกภาพ สำนักงานจะให้บริการบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ชื่อโดเมนของสำนักงาน (@xxx.or.th หรือ @xxx.go.th)  ให้แก่พนักงานและพนักงานโครงการทุกคนและจะยกเลิกบัญชีนี้เมื่อพนักงานและพนักงานโครงการพ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะกลุ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และสนับสนุนการทำงานร่วมกันของพนักงานและพนักงานโครงการและบุคคลภายนอก สำนักงานจะสนับสนุนการให้บริการบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม (Groupmail) เพื่อใช้ในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคณะทำงานหรือคณะกรรมการ ซึ่งอาจมีสมาชิกได้ทั้งจากพนักงานและพนักงานโครงการและบุคคลภายนอกสำนักงานโดยต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้งาน และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน ให้แจ้งหน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศทราบทันที
  • สำนักงานขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงและตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้า โดยให้ดำเนินการได้เมื่อมีความจำเป็นและห้ามผู้ตรวจสอบเปิดเผยสารสนเทศใดของผู้ใช้งานที่ถูกตรวจสอบนั้น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามคำสั่งศาล หรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ หรือได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน แล้วแต่กรณี
  • หน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องกำหนดและแจ้งให้ผู้ใช้งานของตนได้ทราบถึงขนาดของกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Mailbox Size) และขนาดจำกัดของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมที่ระบบจะรองรับการทำงานได้
  • หน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องเตรียมวิธีการตั้งค่าในซอฟต์แวร์มาตรฐานเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าข้อมูลผู้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Sender) ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุลของผู้ส่งเป็นภาษาอังกฤษ และชื่อบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งเป็นอย่างน้อย และในกรณีที่ต้องการให้ผู้รับตอบกลับมาที่บัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม ต้องตั้งค่าบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มนั้นที่ “Reply To” แทนการเปลี่ยนแปลงที่ข้อมูลผู้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Sender)
  • เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบของสำนักงานต่อท้ายข้อความที่ผู้ใช้งานส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Disclaimer) ให้ผู้ดูแลระบบดำเนินการใส่ข้อความดังกล่าวลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทุกฉบับที่ส่งออกจากระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน
  • การติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มั่นคงปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสประเภท Secure Sockets Layer (SSL) หรือ Transport Layer Security (TLS) เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิด การดักและการลักลอบนำรหัสผ่านไปใช้ในทางที่ผิด
  • การส่งมอบรหัสผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบเข้ารหัส ห้ามใช้ที่เป็น Clear Text
  • ผู้ดูแลระบบต้องจัดเตรียมระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้งานเมื่อเข้าใช้งานครั้งแรก และรองรับการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้งานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอทุก 1 ปี
  • การกำหนดรหัสผ่านให้ดำเนินการ ดังนี้
    • รหัสผ่านต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 12 ตัวอักษร เว้นแต่รหัสผ่านระดับ BIOS (Basic Input/Output System) ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร
    • รหัสผ่านต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งปรากฏในรายการกลุ่มคำต้องห้ามของสำนักงาน
    • รหัสผ่านไม่ควรมีส่วนใดส่วนหนึ่งมาจากบริบทผู้ใช้งาน
      (ก) กลุ่มตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือวันหรือเดือนหรือปีเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือรหัสพนักงาน
      (ข) กลุ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานเต็มคำ เช่น ชื่อ-นามสกุลจริงภาษาอังกฤษทั้งอักษรพิมพ์เล็ก และอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือชื่อเล่น หรือชื่อย่อของฝ่ายหรืองานที่สังกัดทั้งอักษรพิมพ์เล็กและอักษรพิมพ์ใหญ่
      (ค) กลุ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ใช้งาน เช่น ชื่อผู้ใช้งานที่ใช้เข้าสู่ระบบ (root, admin)
      (ง) ไม่ใช้รหัสผ่านที่ใช้ร่วมกับบริการภายนอกอื่นๆ
    • การเปลี่ยนรหัสผ่านผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานของสำนักงาน ในกรณีที่ผู้ใช้งานได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ หรือโอนย้ายหน่วยงานภายในสำนักงาน ให้ผู้ดูแลระบบจัดการฐานข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานหรือพนักงานโครงการผู้นั้น ดังนี้
    (1) กรณีผู้ใช้งานพ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ ให้ผู้ดูแลระบบส่งต่อข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้งานนั้นไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของพนักงาน หรือพนักงานโครงการที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ เพื่อเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ
    (2) กรณีโอนย้ายหน่วยงานภายในสำนักงาน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของพนักงานหรือพนักงานโครงการที่โอนย้ายนั้นมีสิทธิเลือกให้ส่งต่อข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานผู้นั้นไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเพื่อเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน หรือส่งไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานหรือพนักงานโครงการที่โอนย้ายไปแล้วนั้นได้

Read more

ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เผยแพร่ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ลงนามโดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

สาระสำคัญ คือ ให้หน่วยงานที่มีรายชื่อแนบท้ายประกาศฉบับนี้ และหน่วยงานที่สภานโยบายประกาศเพิ่มเติม เป็นหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ตามการจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งการพัฒนากำลังคน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณและกรอบงบประมาณสำหรับงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์หรือนโยบายของรัฐบาล และกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามการดำเนินตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน
  2. หน่วยงานด้านการให้ทุน ทำหน้าที่ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนวัตกรรม และบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ
  3. หน่วยงานที่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม ทำหน้าที่ดำเนินการวิจัยและนวัตกรรม หรือร่วมดำเนินการวิจัยและนวัตกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน
  4. หน่วยงานมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ ทดสอบและบริการคุณภาพ สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์ และรับรองมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงศึกษา วิจัย พัฒนา ความสามารถทางด้านมาตรวิทยา และการพัฒนาระบบ กระบวนการ บุคลากร โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ
  5. หน่วยงานด้านการจัดการความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าว ทำหน้าที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ บริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
  6. หน่วยงานด้านอื่นตามที่สภานโยบายกำหนด
PDF Pic

รายชื่อหน่วยงาน/สถานศึกษา แนบท้ายประกาศ :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/032/T_0001.PDF

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/032/T_0001.PDF

ร่าง พรบ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

ร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ผ่านการตรวจพิจารณาโดยคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย

ร่างกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการติดต่อราชการ การขออนุมัติอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงินและการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนภาระที่ไม่จำเป็นแก่ประชาชนและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน

มติ ค.ร.ม. วันที่ 8 ธันวาคม 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปจัดทำกฎหมายกลางเพื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงานของภาครัฐตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นระบบดิจิทัลโดยเร็ว และให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

PDF Pic

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). ร่าง พรบ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. https://lawreform.go.th/uploads/files/1616489902-r4nsd-s6nyu.pdf

มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติ (Statistical Standard Classification)

มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติที่เป็นสากล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. Reference Classifications เป็นการจัดจำแนกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสากล โดยจะต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การ แรงงานระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก เป็นต้น และเป็นประเภทของการจัดจำแนกที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกของตน โดยอาจใช้เป็นตัวอย่าง ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดจำแนก ทั้งในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ

2. Derived Classifications เป็นการจัดจำแนกที่จัดทำขึ้นโดยใช้ Reference Classifications เป็นหลัก เฉพาะในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ โดยมีการเพิ่มรายละเอียดหรือมี การปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ

3. Related Classifications เป็นการจัดจำแนกที่มีการอ้างอิงถึง Reference Classifications แต่มีเพียงบางส่วนที่สอดคล้องกับ Reference Classifications ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานสากลจึงไม่ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ได้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแบบ Reference Classifications ซึ่งเป็นการจัดจำแนกที่มีโครงสร้างและการจัดลำดับเช่นเดียวกับมาตรฐานสากลที่เป็นต้น ฉบับทุกประการ ทำให้ข้อมูลที่จัดจำแนกตามแบบดังกล่าว สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ทั้งในระดับของโครงสร้างหลักและในแต่ละระดับย่อยของการจัดจำแนก และในการจัดทำ มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแต่ละเรื่อง สำนักงานฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ขึ้นมาพิจารณา

โครงสร้างของInternational Standard Industrial Classification of All Economic Activities (ISIC Rev. 4)

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). มาตรฐานสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้น 31 มกราคม 2022, จาก http://statstd.nso.go.th/classification/default.aspx

จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท.

การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC) เป็นมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดจำแนกข้อมูลสถิติเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำ ISIC มาเป็นกรอบในการจัดทำ ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภท ธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดทำ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) ขึ้นเพื่อใช้เป็น national classification นั้น จึงได้อ้างอิงจาก ACIC ด้วยเพื่อข้อมูลที่หน่วยงานราชการต่างๆ จัดทำและเผยแพร่นั้น สอดคล้องและใช้เปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศสมาชิกอื่นได้

PDF Pic

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : 

ISIC-BOT Code Rev 4 add mark SME_551225

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ปุณฑริก ศุภอมรกุล & อังสุปาลี วัชราเกียรติ. (2554). จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(1) และ 8(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
  1. นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ
  2. นายนวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  3. พ.ต.ท. เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  4. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  5. ผศ. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคมศาสตร์
  6. ศ. ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
  7. ศ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสุขภาพ
  8. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงิน
  9. นางเมธินี เทพมณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ)
  10. นายอนุสิษฐ คุณากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

Read more

แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1

ด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อการบริหารจัดการการขับเคลื่อน ต่อยอด 5G ของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ปฏิบัติการร่วมกัน ทั้งด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในภาคส่วนต่าง การพัฒนานวัตกรรม การขยายผลนำร่องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในโครงการด้านคมนาคม ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม และด้านเมืองอัจฉริยะ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่เหมาะสมและทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมถึงแนวทางการส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G ในประเทศ จึงได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยขึ้น โดยคำนึงถึงทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามนโยบายและแผนระดับชาติ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติในการกระตุ้นให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยี 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

Read more