จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท.

การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC) เป็นมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดจำแนกข้อมูลสถิติเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำ ISIC มาเป็นกรอบในการจัดทำ ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภท ธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดทำ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) ขึ้นเพื่อใช้เป็น national classification นั้น จึงได้อ้างอิงจาก ACIC ด้วยเพื่อข้อมูลที่หน่วยงานราชการต่างๆ จัดทำและเผยแพร่นั้น สอดคล้องและใช้เปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศสมาชิกอื่นได้

PDF Pic

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : 

ISIC-BOT Code Rev 4 add mark SME_551225

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ปุณฑริก ศุภอมรกุล & อังสุปาลี วัชราเกียรติ. (2554). จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en