รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 12 มาตรา 15 วรรคสอง มาตรา 19 และมาตรา 22 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่มิใช่หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง
สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) บัญญัติให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ร่าง พรบ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
ร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ผ่านการตรวจพิจารณาโดยคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
ร่างกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการติดต่อราชการ การขออนุมัติอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงินและการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนภาระที่ไม่จำเป็นแก่ประชาชนและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน
มติ ค.ร.ม. วันที่ 8 ธันวาคม 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปจัดทำกฎหมายกลางเพื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงานของภาครัฐตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นระบบดิจิทัลโดยเร็ว และให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :