ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

เพื่อให้การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ โดยให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงและรับรู้ประเภทข้อมูลข่าวสารที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีครอบครองอยู่ และเพื่อประโยชน์ในการขอข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/201/T_0044.PDF

 

ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อให้ประชาชนใช้คำทับศัพท์ได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ โดยสามารถเข้าถึงได้ที่ https://transliteration.orst.go.th/search

หลักเกณฑ์การทับศัพท์
1. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
2. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป
3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต, เชิ้ต, ก๊าซ, แก๊ส
4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม
5.  ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น

สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ที่ https://www.orst.go.th/iwfm_table.asp?a=36

แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)

แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง เทคโนโลยีการสร้างความสามารถให้แก่ เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วยอัลกอริทึมและกลุ่มเครื่องมือทางสถิติ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ทรงปัญญา ที่สามารถเรียนรู้ เลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ ในบางกรณีอาจไปถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทร่วมขับเคลื่อนในแต่ละภาคส่วนจะช่วยทำให้ภาคเศรษฐกิจ และมีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจในหลาย ประเทศตอบโจทย์มิติของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ที่ถูกตั้ง ไว้เป็นเป้าหมายของผลการดำเนินงานและมาตรฐานของทั้งภาคอุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจในหลาย ประเทศทั่วโลก

https://www.facebook.com/aithailandcommu

ผลดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 ได้จัดอันดับประเทศ ไทย อยู่ในลำดับที่ 60 ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังไม่มีนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านแห่งชาติทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะมีการอ้างอิงความจำเป็นในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลปี 2562 ทั้งนโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วน อีกทั้งแนวโน้มการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในประเทศก็มีการขยายตัวอย่างมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมให้มีความฉลาด เชื่อมโยง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการด้าน ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ของประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน รูปแบบของการพัฒนาแบบองค์รวม ที่เรียกว่า BCG Economy ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

Read more

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

แนวปฏิบัตินี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทำธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งธุรกรรมที่ใช้ในศาลและชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นแนวทางในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นหลัก ทั้งนี้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นยังอาจอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่น ซึ่งกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดเอาไว้ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ยังอาจไม่ครอบคลุมหน้าที่ตามกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นทั้งหมดได้ โดยในส่วนต้นนี้จะได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในธุรกรรม

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

รศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง & ปาลิตา รุ่งระวี. (2565). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (TESG 1.0). ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.law.chula.ac.th/event/14988/

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ประธานฯ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

PDPA Guideline สำหรับองค์กรเอกชน—เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ PDPC. (2022, มีนาคม 29). PDPA Starter Kit. https://pdpathailand.com/knowledge-pdpa/full-pdpa-guideline-by-thienchai/

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่5) พ.ศ.2565

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเพื่อให้การเป็นไปตามสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่5) พ.ศ.2565. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/013/T_0001.PDF

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN

https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Statistics DivisionUnited Nations. (ม.ป.ป.). UNSD — United Nations Group of Experts on Geographical Names. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2022, จาก https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ Thai Health coding Center

http://thcc.or.th/homemedicin.php

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดย อ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย. (ม.ป.ป.). บัญชีข้อมูลรายการยาและรหัสยามาตรฐานของไทย. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2022, จาก https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php

ประกาศ สอวช. เรื่อง หลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรและรับรองการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ประกาศ สอวช. เรื่อง หลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรและรับรองการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
(ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565)
รายละเอียดสำคัญในประกาศฯ
  • การขอรับรองการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
  • การขอรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
  • ขั้นตอนการยื่นคำขอ
  • การประกาศผลการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
  • ประกาศกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้ทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการรับรองโดย สอวช.
  • ประกาศกำหนดความต้องการทักษะบุคลากร (Future Skill Set) ที่ได้รับการรับรองโดย สอวช.
PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2565). ประกาศ สอวช. เรื่อง หลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรและรับรองการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ |. https://www.nxpo.or.th/th/9412/