การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวทางดิจิทัล

ด้วย กรมการปกครอง ใด้ตำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางติจิทัล(DOPA Digital ID) เพื่อสร้างต้นแบบ และนวัตกรรมหม่ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการโช้งานบริการภาครัฐ ในระยะแรกกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานจำนวน 100,000 คน จากทั่วประเทศโดยนำร่องกับงานบริการระบบการจองคิว ขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า (Queue Online) และการตรวจสอบข้อมูลของตนเองที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชน และการบริการภาครัฐ(Linkage Center) ทั้งนี้เมื่อผ่านการประเมินผลแล้วจะได้ดำเนินการขยายผลไปยังงานบริการอื่น ๆ ของภาครัฐในระยะต่อไป โดยจะกำหนดเปิดให้ประชาชนใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวหนทางดิจิทัล (DOPA-Digtal ID) ทุกสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นทั่วประเทศได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563

คู่มือการใช้งานระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)

(สำหรับเจ้าหน้าที่สานักทะเบียนอาเภอ/สานักทะเบียนท้องถิ่น)

แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับ eMail

การบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

  • สำนักงานจะจัดให้มีบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่พนักงานและพนักงานโครงการทุกคน เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในสำนักงานและการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน
  • เพื่อให้การสื่อสารแก่บุคคลภายนอกเป็นไปอย่างมีเอกภาพ สำนักงานจะให้บริการบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ชื่อโดเมนของสำนักงาน (@xxx.or.th หรือ @xxx.go.th)  ให้แก่พนักงานและพนักงานโครงการทุกคนและจะยกเลิกบัญชีนี้เมื่อพนักงานและพนักงานโครงการพ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะกลุ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และสนับสนุนการทำงานร่วมกันของพนักงานและพนักงานโครงการและบุคคลภายนอก สำนักงานจะสนับสนุนการให้บริการบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม (Groupmail) เพื่อใช้ในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคณะทำงานหรือคณะกรรมการ ซึ่งอาจมีสมาชิกได้ทั้งจากพนักงานและพนักงานโครงการและบุคคลภายนอกสำนักงานโดยต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้งาน และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน ให้แจ้งหน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศทราบทันที
  • สำนักงานขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงและตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้า โดยให้ดำเนินการได้เมื่อมีความจำเป็นและห้ามผู้ตรวจสอบเปิดเผยสารสนเทศใดของผู้ใช้งานที่ถูกตรวจสอบนั้น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามคำสั่งศาล หรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ หรือได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน แล้วแต่กรณี
  • หน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องกำหนดและแจ้งให้ผู้ใช้งานของตนได้ทราบถึงขนาดของกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Mailbox Size) และขนาดจำกัดของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมที่ระบบจะรองรับการทำงานได้
  • หน่วยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องเตรียมวิธีการตั้งค่าในซอฟต์แวร์มาตรฐานเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าข้อมูลผู้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Sender) ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุลของผู้ส่งเป็นภาษาอังกฤษ และชื่อบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งเป็นอย่างน้อย และในกรณีที่ต้องการให้ผู้รับตอบกลับมาที่บัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม ต้องตั้งค่าบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มนั้นที่ “Reply To” แทนการเปลี่ยนแปลงที่ข้อมูลผู้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Sender)
  • เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบของสำนักงานต่อท้ายข้อความที่ผู้ใช้งานส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Disclaimer) ให้ผู้ดูแลระบบดำเนินการใส่ข้อความดังกล่าวลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทุกฉบับที่ส่งออกจากระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน
  • การติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มั่นคงปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสประเภท Secure Sockets Layer (SSL) หรือ Transport Layer Security (TLS) เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิด การดักและการลักลอบนำรหัสผ่านไปใช้ในทางที่ผิด
  • การส่งมอบรหัสผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบเข้ารหัส ห้ามใช้ที่เป็น Clear Text
  • ผู้ดูแลระบบต้องจัดเตรียมระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้งานเมื่อเข้าใช้งานครั้งแรก และรองรับการเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้งานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอทุก 1 ปี
  • การกำหนดรหัสผ่านให้ดำเนินการ ดังนี้
    • รหัสผ่านต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 12 ตัวอักษร เว้นแต่รหัสผ่านระดับ BIOS (Basic Input/Output System) ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร
    • รหัสผ่านต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งปรากฏในรายการกลุ่มคำต้องห้ามของสำนักงาน
    • รหัสผ่านไม่ควรมีส่วนใดส่วนหนึ่งมาจากบริบทผู้ใช้งาน
      (ก) กลุ่มตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร เช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือวันหรือเดือนหรือปีเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือรหัสพนักงาน
      (ข) กลุ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานเต็มคำ เช่น ชื่อ-นามสกุลจริงภาษาอังกฤษทั้งอักษรพิมพ์เล็ก และอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือชื่อเล่น หรือชื่อย่อของฝ่ายหรืองานที่สังกัดทั้งอักษรพิมพ์เล็กและอักษรพิมพ์ใหญ่
      (ค) กลุ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ใช้งาน เช่น ชื่อผู้ใช้งานที่ใช้เข้าสู่ระบบ (root, admin)
      (ง) ไม่ใช้รหัสผ่านที่ใช้ร่วมกับบริการภายนอกอื่นๆ
    • การเปลี่ยนรหัสผ่านผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานของสำนักงาน ในกรณีที่ผู้ใช้งานได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ หรือโอนย้ายหน่วยงานภายในสำนักงาน ให้ผู้ดูแลระบบจัดการฐานข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานหรือพนักงานโครงการผู้นั้น ดังนี้
    (1) กรณีผู้ใช้งานพ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ ให้ผู้ดูแลระบบส่งต่อข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้งานนั้นไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของพนักงาน หรือพนักงานโครงการที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ เพื่อเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานหรือพนักงานโครงการ
    (2) กรณีโอนย้ายหน่วยงานภายในสำนักงาน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของพนักงานหรือพนักงานโครงการที่โอนย้ายนั้นมีสิทธิเลือกให้ส่งต่อข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานผู้นั้นไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเพื่อเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน หรือส่งไปยังกล่องรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานหรือพนักงานโครงการที่โอนย้ายไปแล้วนั้นได้

Read more

จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท.

การจัดประเภทธุรกิจตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC) เป็นมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย United Nations Statistics Division (UNSD) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดจำแนกข้อมูลสถิติเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำ ISIC มาเป็นกรอบในการจัดทำ ASEAN Common Industrial Classification (ACIC) เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นมาตรฐานการจัดประเภท ธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จัดทำ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) ขึ้นเพื่อใช้เป็น national classification นั้น จึงได้อ้างอิงจาก ACIC ด้วยเพื่อข้อมูลที่หน่วยงานราชการต่างๆ จัดทำและเผยแพร่นั้น สอดคล้องและใช้เปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศสมาชิกอื่นได้

PDF Pic

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : 

ISIC-BOT Code Rev 4 add mark SME_551225

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ปุณฑริก ศุภอมรกุล & อังสุปาลี วัชราเกียรติ. (2554). จาก ISIC Rev. 3 สู่ Rev. 4: ผลกระทบต่อการจัดทำข้อมูลของ ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1

ด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อการบริหารจัดการการขับเคลื่อน ต่อยอด 5G ของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ปฏิบัติการร่วมกัน ทั้งด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในภาคส่วนต่าง การพัฒนานวัตกรรม การขยายผลนำร่องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในโครงการด้านคมนาคม ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม และด้านเมืองอัจฉริยะ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่เหมาะสมและทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมถึงแนวทางการส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G ในประเทศ จึงได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยขึ้น โดยคำนึงถึงทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามนโยบายและแผนระดับชาติ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติในการกระตุ้นให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยี 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

Read more

การจำแนกหมวดหมู่ของผลงานตีพิมพ์ใน SciVal

ใน SciVal นอกจากจะจำแนกหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus แล้ว ยังสามารถจำแนกตามการจัดกลุ่มที่ใช้ใน QS World University Rankings, THE World University Rankings, Frascati Manual of the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการวิเคราะห์และรายงานข้อมูลหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มที่ใช้ในแหล่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ ยังมี map หมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus กับหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มต่างๆ ในรูปแบบ Excel sheet ให้ดาวน์โหลด ดังนี้

Read more

การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

การจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการเปรียบเทียบระหว่างกันและเป็นข้อมูลด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นให้สามารถสะท้อนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมของประเทศได้มากขึ้น

สรุปเกณฑ์สำคัญ

หลักการโดยรวม

  • จัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียน (หุ้นสามัญ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund:IF) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) โดยตราสารทางการเงินอื่นๆ ยังคงแยกไว้ต่างหาก
  • หมวดบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ไม่รวมอยู่ในการจัดกลุ่ม
  • รวมกลุ่มของหมวดธุรกิจที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกันไว้ด้วยกัน

หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

  • พิจารณาจัดบริษัทตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ
  • หากไม่มีธุรกิจใดสร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 จะใช้เกณฑ์ด้านกำไรพิจารณาเป็นเกณฑ์รอง ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาใช้หลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบตามที่เห็นสมควร
  • ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายแห่ง (Holding Company) บริษัทจะถูกจัดตามประเภทธุรกิจของบริษัทย่อยที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท
  • ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์จัดบริษัทจดทะเบียนใน SET ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ  โดยในปี 2558 เป็นต้นไป จะมีการจัดบริษัทจดทะเบียนใน mai ตามกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). SET – กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง—Simplified Regulations. การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html

 

Results of skill mapping in the twelve new S-curve industries

ด้วย ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ผ่านการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมที่เป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

2. อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรม เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจรและ

3. อุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม ได้แก่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ซึ่งการจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1) Build การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร 2) Buy (Recruit) การสรรหาบุคลากรใหม่ 3) Borrow (Short-term) การนำบุคลากรภายนอกมาทำงานภายในองค์กรในเวลาและขอบเขตของงานที่กำหนด และ 4) Release การปล่อยให้บุคลากรที่ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ออกจากองค์กร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะ การดำเนินธุรกิจขององค์กรอัตราการแข่งขันทางธุรกิจ และระดับทักษะที่มีความต้องการ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Results of skill mapping in the twelve new S-curve industries. (2563). Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council |. สืบค้น 14 มกราคม 2022, จาก https://www.nxpo.or.th/th/en/report/5608/

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 กำหนดให้การประชุม ตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือการประชุมที่ต้องการให้มีผลตามกฎหมายสามารถดำเนินการประชุม
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ยกเว้นการประชุมดังต่อไปนี้

(1) การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

(2) การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

(3) การประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างบางกรณี

(4) การประชุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงบังคับใช้)

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงาน ก.พ. (OCSC). (2564). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | สำนักงาน ก.พ. (OCSC). https://www.ocsc.go.th/หนังสือเวียน/ว29-2564-แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en

2020 NASA Technology Taxonomy

Technology Taxonomy ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจาก the Technology Area Breakdown Structure (TABS) of 2015 NASA Technology Roadmaps ซึ่ง TABS ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Taxonomy ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ด้วย เพื่อแสดงโครงสร้างภาพรวมเทคโนโลยีของ NASA ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของ NASA ในการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อภารกิจด้านอวกาศในอนาคต รวมถึงการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ สำหรับเวอร์ชั่น 2020 นี้ ประกอบด้วย TX หรือ taxonomy ทั้งสิ้น 17 สาขาวิชา (ปี 2015 ประกอบด้วย 15 สาขาวิชาหลัก และเรียกว่า Technology Areas หรือ TA) แบ่งกลุ่มไล่ระดับชั้น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 หมายถึง สาขาวิชาหลัก ระดับที่ 2 หมายถึง สาขาวิชาย่อย และ ระดับที่ 3 หมายถึง เทคโนโลยีย่อยภายใต้สาขาวิชาย่อย ตัวอย่างเช่น

  •  TX02 Flight Computing and Avionics
  •  TX02.1 Avionics Component Technologies
  • TX2.1.1 Radiation Hardened Extreme Environment Components and Implementations

แต่ละ TX ประกอบด้วยคำอธิบายว่าครอบคลุมเทคโนโลยีใดบ้าง พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ผู้นำไปศึกษาหรือปรับใช้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น

เวอร์ชั่น 2020 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2017 นำโดย NASA Center Technology Council (CTC) the Office of the Chief Technologist (OCT) และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ของ NASA ฉบับร่างของ 2020 NASA Technology Taxonomy จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของ NASA เช่น Technical Fellows, Systems Capability Leaders และ Principal Technologists เป็นต้น เพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ และปรับแก้ ตรวจสอบความสม่ำเสมอต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนศักยภาพและภารกิจของ NASA ให้มากที่สุด ระหว่างปี 2018 –   2019 NASA เชิญชวนให้ประชาคมเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดาวน์โหลดและศึกษาร่าง 2020 NASA Technology Taxonomy เพื่อขอความคิดเห็นหรือคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนเผยแพร่ฉบับจริงเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Bryan, W. (2019, สิงหาคม 20). 2020 NASA Technology Taxonomy [Text]. NASA. http://www.nasa.gov/offices/oct/taxonomy/index.html