การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

การจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการเปรียบเทียบระหว่างกันและเป็นข้อมูลด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นให้สามารถสะท้อนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมของประเทศได้มากขึ้น

สรุปเกณฑ์สำคัญ

หลักการโดยรวม

  • จัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียน (หุ้นสามัญ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund:IF) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) โดยตราสารทางการเงินอื่นๆ ยังคงแยกไว้ต่างหาก
  • หมวดบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ไม่รวมอยู่ในการจัดกลุ่ม
  • รวมกลุ่มของหมวดธุรกิจที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกันไว้ด้วยกัน

หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

  • พิจารณาจัดบริษัทตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ
  • หากไม่มีธุรกิจใดสร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 จะใช้เกณฑ์ด้านกำไรพิจารณาเป็นเกณฑ์รอง ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาใช้หลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบตามที่เห็นสมควร
  • ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายแห่ง (Holding Company) บริษัทจะถูกจัดตามประเภทธุรกิจของบริษัทย่อยที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท
  • ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์จัดบริษัทจดทะเบียนใน SET ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ  โดยในปี 2558 เป็นต้นไป จะมีการจัดบริษัทจดทะเบียนใน mai ตามกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). SET – กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง—Simplified Regulations. การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html

 

Results of skill mapping in the twelve new S-curve industries

ด้วย ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ผ่านการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมที่เป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

2. อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรม เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจรและ

3. อุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม ได้แก่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ซึ่งการจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1) Build การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร 2) Buy (Recruit) การสรรหาบุคลากรใหม่ 3) Borrow (Short-term) การนำบุคลากรภายนอกมาทำงานภายในองค์กรในเวลาและขอบเขตของงานที่กำหนด และ 4) Release การปล่อยให้บุคลากรที่ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ออกจากองค์กร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะ การดำเนินธุรกิจขององค์กรอัตราการแข่งขันทางธุรกิจ และระดับทักษะที่มีความต้องการ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Results of skill mapping in the twelve new S-curve industries. (2563). Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council |. สืบค้น 14 มกราคม 2022, จาก https://www.nxpo.or.th/th/en/report/5608/

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 กำหนดให้การประชุม ตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือการประชุมที่ต้องการให้มีผลตามกฎหมายสามารถดำเนินการประชุม
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ยกเว้นการประชุมดังต่อไปนี้

(1) การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

(2) การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

(3) การประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างบางกรณี

(4) การประชุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงบังคับใช้)

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงาน ก.พ. (OCSC). (2564). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | สำนักงาน ก.พ. (OCSC). https://www.ocsc.go.th/หนังสือเวียน/ว29-2564-แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D

รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น

Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)

ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Galindo-Rueda, F., & Verger, F. (2016). OECD Taxonomy of Economic Activities Based on R&D Intensity. OECD. https://doi.org/10.1787/5jlv73sqqp8r-en

ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง ยกเลิกการเรียกสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 ข้อ 17 ประกอบกับ มติศณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2561 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 มีมติเห็นชอบมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระของประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของกรมการปกครองเป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและมาตรการดังกล่าวอันเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชน และลดภาระของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมการปกครอง ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง ยกเลิกการเรียกสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/298/T_0006.PDF

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดทำประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 และอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและจัดทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงขอให้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ไปพลางก่อน
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp

2020 NASA Technology Taxonomy

Technology Taxonomy ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจาก the Technology Area Breakdown Structure (TABS) of 2015 NASA Technology Roadmaps ซึ่ง TABS ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Taxonomy ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ด้วย เพื่อแสดงโครงสร้างภาพรวมเทคโนโลยีของ NASA ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของ NASA ในการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อภารกิจด้านอวกาศในอนาคต รวมถึงการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ สำหรับเวอร์ชั่น 2020 นี้ ประกอบด้วย TX หรือ taxonomy ทั้งสิ้น 17 สาขาวิชา (ปี 2015 ประกอบด้วย 15 สาขาวิชาหลัก และเรียกว่า Technology Areas หรือ TA) แบ่งกลุ่มไล่ระดับชั้น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 หมายถึง สาขาวิชาหลัก ระดับที่ 2 หมายถึง สาขาวิชาย่อย และ ระดับที่ 3 หมายถึง เทคโนโลยีย่อยภายใต้สาขาวิชาย่อย ตัวอย่างเช่น

  •  TX02 Flight Computing and Avionics
  •  TX02.1 Avionics Component Technologies
  • TX2.1.1 Radiation Hardened Extreme Environment Components and Implementations

แต่ละ TX ประกอบด้วยคำอธิบายว่าครอบคลุมเทคโนโลยีใดบ้าง พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ผู้นำไปศึกษาหรือปรับใช้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น

เวอร์ชั่น 2020 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2017 นำโดย NASA Center Technology Council (CTC) the Office of the Chief Technologist (OCT) และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ของ NASA ฉบับร่างของ 2020 NASA Technology Taxonomy จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของ NASA เช่น Technical Fellows, Systems Capability Leaders และ Principal Technologists เป็นต้น เพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ และปรับแก้ ตรวจสอบความสม่ำเสมอต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนศักยภาพและภารกิจของ NASA ให้มากที่สุด ระหว่างปี 2018 –   2019 NASA เชิญชวนให้ประชาคมเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดาวน์โหลดและศึกษาร่าง 2020 NASA Technology Taxonomy เพื่อขอความคิดเห็นหรือคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนเผยแพร่ฉบับจริงเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Bryan, W. (2019, สิงหาคม 20). 2020 NASA Technology Taxonomy [Text]. NASA. http://www.nasa.gov/offices/oct/taxonomy/index.html

การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565

การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 รรคหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้

“ภารกิจ” หมายความว่า การปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจที่สถาบันอุดมศึกษามีอยู่ตามกฎหมาย

“พันธกิจ” หมายความว่า พันะที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดขึ้นและประกาศต่อสาธารณะตามมาตรา 22 โดยประกอบด้วยเป้หมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ในการปฏิบัติภารกิจ
เพื่อให้กิดผลลัทธ์และผลสัมฤทธิ์ตามที่ใด้วางไว้

“พันกิจหลัก” หมายความว่า พันธะที่สถาบันอุตมศึกษา ส่วนราชการหรือส่วนงานภายในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตามกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาซึ่งรัฐมนตรีประกาศให้สังกัดตามกฎกระ ทรวงนี้

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

Digital Transformation Review

รายงาน Use Case ของการทำ Digital Transformation ในหลากหลาย Sector

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Hochet, X., Toombs, K., Bonnet, D., & Buvat, J. (2014). Crafting a Compelling Digital Customer Experience. Capgemini Consulting, 77.