พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 12 มาตรา 15 วรรคสอง มาตรา 19 และมาตรา 22 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่มิใช่หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) บัญญัติให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.  2565. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/063/T_0001.PDF

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันมีประเทศ เขตการปกครองหรือเมืองหลวง เกิดขึ้นใหม่ บางประเทศแยกตัวเป็นอิสระจากกัน บางประเทศเปลี่ยนระบอบการปกครองและเปลี่ยนชื่อประเทศ บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้เปลี่ยนเมืองหลวงหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ ประกอบกับสำนักงนราชบัณฑิตยสภาได้แก้ไขการเขียนชื่อประเทศเขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามการออกสียงของเจ้าของภาษา และแก้ไขตัวสะกดชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาปรับปรุงและจัดทำเพิ่มขึ้นอีกหลายภาษาสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลจึงได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

บัดนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงให้ยกเลิกประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แล้วกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ดังแนบท้ายประกาศนี้แทน จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่องกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0028.PDF

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอว่า ในปัจจุบันชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สถานะ และ เขตการปกครอง บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้ย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ประกอบกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้จัดทำประกาศ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2565 ขึ้นใหม่ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เห็นชอบให้ใช้ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทางราชการถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดซื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง  กำหนดชื่อประเทศ  ดินแดน  เขตการปกครอง  และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0013.PDF

 

ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

เพื่อให้การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ โดยให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงและรับรู้ประเภทข้อมูลข่าวสารที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีครอบครองอยู่ และเพื่อประโยชน์ในการขอข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/201/T_0044.PDF

 

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่5) พ.ศ.2565

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเพื่อให้การเป็นไปตามสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่5) พ.ศ.2565. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/013/T_0001.PDF

ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เผยแพร่ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ลงนามโดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

สาระสำคัญ คือ ให้หน่วยงานที่มีรายชื่อแนบท้ายประกาศฉบับนี้ และหน่วยงานที่สภานโยบายประกาศเพิ่มเติม เป็นหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ตามการจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งการพัฒนากำลังคน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณและกรอบงบประมาณสำหรับงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์หรือนโยบายของรัฐบาล และกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามการดำเนินตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน
  2. หน่วยงานด้านการให้ทุน ทำหน้าที่ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนวัตกรรม และบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ
  3. หน่วยงานที่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม ทำหน้าที่ดำเนินการวิจัยและนวัตกรรม หรือร่วมดำเนินการวิจัยและนวัตกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน
  4. หน่วยงานมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ ทดสอบและบริการคุณภาพ สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์ และรับรองมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงศึกษา วิจัย พัฒนา ความสามารถทางด้านมาตรวิทยา และการพัฒนาระบบ กระบวนการ บุคลากร โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ
  5. หน่วยงานด้านการจัดการความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าว ทำหน้าที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ บริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
  6. หน่วยงานด้านอื่นตามที่สภานโยบายกำหนด
PDF Pic

รายชื่อหน่วยงาน/สถานศึกษา แนบท้ายประกาศ :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/032/T_0001.PDF

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/032/T_0001.PDF

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(1) และ 8(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้
  1. นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ
  2. นายนวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  3. พ.ต.ท. เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  4. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  5. ผศ. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคมศาสตร์
  6. ศ. ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
  7. ศ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสุขภาพ
  8. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงิน
  9. นางเมธินี เทพมณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ)
  10. นายอนุสิษฐ คุณากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

Read more

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4)

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ” หมายความว่า การรับส่งและเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมถึงการรับส่งโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการหรือที่ส่วนราชการจัดให้แก่เจ้าหน้าที่ และระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนดด้วย

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/113/T_0001.PDF

พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๒๑

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

“วรรณกรรม” หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วย

“โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด