เอกสารงานพิมพ์ที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ เช่น Microsoft Word, OpenOffice.org Writer รวมถึงซอฟต์แวร์จัดการงานพิมพ์ (DTP: Desktop Publishing) นับเป็นสื่อดิจิทัลแต่กำเนิด (Born Digital Media) ซึ่งมีคุณภาพในตัวสูงมาก หากมีการสร้าง จัดเก็บ บริหารจัดการที่มีคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนแรก ย่อมทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และการใช้งานต่อในรูปแบบต่างๆ เช่น การแปลงเป็นเอกสาร PDF การนำเข้าระบบห้องสมุดดิจิทัลย่อมทำให้ลดขั้นตอนต่างๆ ได้ ในการสร้างเอกสารงานพิมพ์ให้มีคุณภาพควรพิจารณาข้อกำหนดการสร้างเอกสารงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ดังนี้
การใช้เลขไทยในเอกสารราชการ
สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งขอความร่วมมือให้ส่วนราชการไทยใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เลขไทย ดังรายละเอียด
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการดูแลกำชับให้หน่วยราชการทุกแห่งใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยราชการ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนชาวไทยในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อมิให้วัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ และโดยที่ต้องขอให้หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติในการใช้เลขปีพุทธศักราช (พ.ศ.) แทนการใช้เลขคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในกิจกรรมทุกด้าน จึงมีมติ ดังนี้
1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐต่างๆ สนับสนุนในการใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของทางราชการ
2. ให้ขอความร่วมมือสถานีวิทยุ สถานีวิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชนอื่น และภาคเอกชนให้ใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราช เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์เอกลักษณะของชาติต่อไป
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ครั้งที่ 129 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีการพิจารณาศึกษาการใช้เลขศักราชของหน่วยราชการที่มีการใช้เลข 2000 กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีกระแสวัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ กิจกรรมแทบทุกด้านของภาคเอกชนมีการใช้เลขศักราชเป็น 2000 เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง อันอาจจะส่งกระทบต่อเอกลักษณ์ของไทยในอนาคต จนกลายเป็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ยาก
นอกจากนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ศึกษาการใช้ปีศักราชแล้ว ปรากฏดังนี้
1. ปีศักราชมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยได้มีการใช้หลายอย่างตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย คือ มีทั้งพระพุทธศักราช (พ.ศ.) มหาศักราช จุลศักราช (จ.ศ.) และรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หรือแม้แต่คริสศักราช (ค.ศ.)
2. ส่วนการใช้พระพุทธศักราชในราชการทั่วไปนั้น เกิดจากพระราชดำริและพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ตามประกาศวิธีนับวันเดือนปีซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 เป็นพระพุทธศักราช 2455 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช 2483 ใช้บังคับก็ยังคงใช้เลขปีศักราชเป็นปีพระพุทธศักราชต่อไป
3. สำหรับในการบริหารงานเอกสารของทางราชการได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ โดยกำหนดให้ใช้เลขปีพุทธศักราชในการออกหนังสือราชการทั่วไป นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้เคยมีหนังสือแจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจและให้ส่วนราชการถือปฏิบัติในการระบุคำว่า “พ.ศ.” ในแบบคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ หรือหนังสือรับรองเพื่อให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันอีกด้วย จึงให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติตามนี้
คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันคนไทยมักใช้ภาษาอังกฤษในกิจกรรมต่างๆ เช่น เสื้อนักกีฬา จึงขอให้รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยในกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี ภาษาต่างประเทศซึ่งเป็นภาษาที่สองก็ยังมีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
–ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)–วันที่ 2 พฤษภาคม 2543–
การบริหารจัดการแฟ้มเอกสารดิจิทัล
สื่อดิจิทัลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มเอกสารดิจิทัล (File) ในอุปกรณ์จัดเก็บรูปแบบต่างๆ ทั้งฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์จัดเก็บแบบพกพา ดังนั้นการจัดวางโครงสร้างการจัดเก็บที่ดีย่อมทำให้การเข้าถึงและใช้งานแฟ้มเอกสารดิจิทัลเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555
ด้วยแนวคิดเริ่มแรกของการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา มาจากประเด็น “กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” จึงต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ควบคู่ไปด้วย
สาขาวิชาการของสภาวิจัยแห่งชาติ 12 สาขา และกลุ่มวิชาการ
ภาระกิจหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คือ การทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยมาตรฐานสาขาวิจัยเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ทราบว่าประเทศไทย มีงานวิจัยในแต่ละสาขาปริมาณเท่าใด อย่างไรก็ดีสาขาวิจัยที่ วช. กำหนด อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จึงขอนำเสนอรายละเอียดของสาขาวิจัยทั้ง 12 สาขา ดังรายละเอียด
01. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-คณิตศาสตร์และสถิติ 02-ฟิสิกส์ 03-ดาราศาสตร์ 04-วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ 05-ธรณีวิทยา 06-อุทกวิทยา 07-สมุทรศาสตร์ 08-อุตุนิยมวิทยา 09-ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
02. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์การแพทย์ 02-แพทยศาสตร์ 03-สาธารณสุข 04-เทคนิคการแพทย์ 05-พยาบาลศาสตร์ 06-ทันตแพทยศาสตร์ 07-สังคมศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
03. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-อนินทรีย์เคมี 02-อินทรีย์เคมี 03-ชีวเคมี 04-เคมีอุตสาหกรรม 05-อาหารเคมี 06-เคมีโพลิเมอร์ 07-เคมีวิเคราะห์ 08-ปิโตรเคมี 09-เคมีสิ่งแวดล้อม 10-เคมีเทคนิค 11-นิวเคลียร์เคมี 12-เคมีเชิงฟิสิกส์ 13-เคมีชีวภาพ 14-เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ 15-เภสัชอุตสาหกรรม 16-เภสัชกรรม 17-เภสัชวิทยาและพิษวิทยา 18-เครื่องสำอาง 19-เภสัชเวท 20-เภสัชชีวภาพ ฯลฯ
04. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ทรัพยากรพืช 02-การป้องกันกำจัดศัตรูพืช 03-ทรัพยากรสัตว์ 04-ทรัพยากรประมง 05-ทรัพยากรป่าไม้ 06-ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 07-อุตสาหกรรมเกษตร 08-ระบบเกษตร 09-ทรัพยากรดิน 10-ธุรกิจการเกษตร 11-วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร 12-สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร 13-วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ
05. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 02-วิศวกรรมศาสตร์ 03-อุตสาหกรรมวิจัย ฯลฯ
06. สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา 01-ประวัติศาสตร์ 02-โบราณคดี 03-วรรณคดี 04-ศิลปกรรม 05-ภาษา 06-สถาปัตยกรรม 07-ศาสนา ฯลฯ
07. สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-กฎหมายมหาชน 02-กฎหมายเอกชน 03-กฎหมายอาญา 04-กฎหมายเศรษฐกิจ 05-กฎหมายธุรกิจ 06-กฎหมายระหว่างประเทศ 07-กฎหมายวิธีพิจารณาความ ฯลฯ
08. สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 02-นโยบายศาสตร์ 03-อุดมการณ์ทางการเมือง 04-สถาบันทางการเมือง 05-ชีวิตทางการเมือง 06-สังคมวิทยาทางการเมือง 07-ระบบการเมือง 08-ทฤษฎีการเมือง 09-รัฐประศาสนศาสตร์ 10-มติสาธารณะ 11-ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง 12-เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ
09. สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-เศรษฐศาสตร์ 02-พาณิชยศาสตร์ 03-บริหารธุรกิจ 04-การบัญชี ฯลฯ
10. สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-สังคมวิทยา 02-ประชากรศาสตร์ 03-มานุษยวิทยา 04-จิตวิทยาสังคม 05-ปัญหาสังคมและสังคมสงเคราะห์ 06-อาชญาวิทยา 07-กระบวนการยุติธรรม 08-มนุษย์นิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม 09-พัฒนาสังคม 10-ภูมิปัญญาท้องถิ่น 11-ภูมิศาสตร์สังคม 12-การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ 13-คติชนวิทยา ฯลฯ
11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาการคอมพิวเตอร์ 02-โทรคมนาคม 03-การสื่อสารด้วยดาวเทียม 04-การสื่อสารเครือข่าย 05-การสำรวจและรับรู้จากระยะไกล 06-ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 07-สารสนเทศศาสตร์ 08-นิเทศศาสตร์ 09-บรรณารักษ์ศาสตร์ 10-เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร ฯลฯ
12. สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-พื้นฐานการศึกษา 02-หลักสูตรและการสอน 03- การวัดและการประเมินผลการศึกษา 04-เทคโนโลยีการศึกษา 05-บริหารการศึกษา 06-จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา 07-การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ 08-พลศึกษา ฯลฯ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศกําหนดให้การจัดทําบัตรประจําตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์สามารถดําเนินการได้ในทุกอําเภอและทุกจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรแล้ว การกําหนดให้กระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนดท้องที่จังหวัดที่สามารถดําเนินการออกบัตรประจําตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึงไม่มีความจําเป็นอีกต่อไป ประกอบกับโดยที่เป็นการสมควรเพิ่มสถานที่ในการยื่นคําขอมีบัตรประจําตัวประชาชนคําขอมีบัตรประจําตัวประชาชนใหม่ หรือคําขอเปลี่ยนบัตรประจําตัวประชาชน ทั้งในและนอกราชอาณาจักรเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนซึ่งประสงค์จะยื่นคําขอ ดาวน์โหลดเอกสาร
การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การมหาชน
ประเด็นเกี่ยวกับหลักการ การกำกับดูแลองค์การมหาชน ความสัมพันธ์กับกระทรวง การแต่งตั้งและการเข้าประชุมของกรรมการโดยตำแหน่ง และการขอจัดตั้งองค์การมหาชน เอกสารไฟล์ดิจิทัล
ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมามักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อ มากกว่าการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานการเข้ากันได้เมื่อนำสื่อดิจิทัลไปใช้งาน หรือแลกเปลี่ยนข้ามระบบ ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลายในการใช้งาน รวมถึงปัญหาจากการพัฒนาระบบคลังข้อมูลดิจิทัล คลังความรู้ดิจิทัลที่เกิดจากความร่วมมือของทุกคนในองค์กร หน่วยงาน เครือข่าย
STKS/สวทช. ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล จึงได้นำประสบการณ์จากการปฏิบัติ จากการวิจัยแปลงความรู้เป็นเอกสารเล่มนี้ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นสำหรับทุกท่าน ทุกหน่วยงานได้กำหนดแนวทางหรือมาตรฐาน การพัฒนาสื่อดิจิทัลภายในหน่วยงาน/องค์กรของท่าน ทั้งนี้เอกสารชุดนี้เป็นฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3
การใช้สื่อสังคมออนไลน์
ปัจจุบันกระแสการใช้สื่อสังคม (Social Media) และเครือข่ายสังคม (Social Networking) อย่าง Facebook, Twitter, Youtube ได้รับความนิยมสูงมาก ทั้งในรูปแบบการใช้ส่วนบุคคล โครงการ จนถึงระดับองค์กร มีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานด้วยผ่านสื่อสังคม เครือข่ายสังคมอย่างต่อเนื่อง และจำนวนมาก บุคลากรขององค์กรสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ facebook และนำเสนอเนื้อหา ข้อมูลของตนเองผ่าน facebook ควบคู่กับเว็บไซต์หลักที่มีอยู่เดิม รวมทั้งยังมีอีกหลายหน่วยงานสนใจดำเนินการเพิ่ม สาเหตุหลักก็ไม่น่าจะพ้นไปจากการปรับบทบาทการบริการ การประชาสัมพันธ์ให้ทันต่อเทคโนโลยีและตอบรับกับแนวคิดการบริการ การประชาสัมพันธ์เชิงรุก อย่างไรก็ดีอยากให้ผู้บริหาร บุคลากรหน่วยงานที่สนใจลองพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังรายละเอียด
- เครื่องมือ Social Media/Networking มีให้เลือกมากกว่า Facebook คงจะต้องศึกษาและพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์องค์กร มีจุดเด่น จุดด้อย ข้อควรระวังเรื่องใดบ้าง
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบการเผยแพร่สารสนเทศหน่วยงาน
- อีเมลที่ใช้สมัครเป็นสมาชิก ไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง รวมทั้งไม่ควรใช้ Group Mail ทั้งนี้หน่วยงานน่าจะสร้างอีเมลเฉพาะสำหรับการใช้สมัครสมาชิกสื่อสังคม เครือข่ายสังคม
- เนื้อหาที่นำเสนอ นอกจากข้อมูลหน่วนงานแล้ว ควรนำเสนอเนื้อหาอื่นๆ ตามวาระ เทศกาลสำคัญ รหมุนเวียนแนะนำอย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะใช้เป็นช่องทางพูดคุยอย่างเดียว เดี๋ยวจะเหมือนกับใช้ Facebook เป็น MSN ไปซะนะครับ
- รูปภาพ จุดเด่นของสื่อสังคม เครือข่ายสังคมอย่าง Facebook คือการทำคลังภาพ ดังนั้นหากมีกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน การเข้าเยี่่ยมชม การจัดกิจกรรมสัมมนา รวมถึงมุมสวยๆ ของหน่วยงาน น่าจะนำมาเผยแพร่และใส่คำอธิบายให้เหมาะสม เพื่อให้เนื้อหาไม่ได้มีเฉพาะข้อความไงครับ
- และไม่ควรนำภาพละเมิดลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ เพราะจะกระจายได้กว้างและไวมาก อาจจะสร้างปัญหาต่างๆ ให้องค์กรและตนเองได้
- Video ก็สามารถนำเข้าและเผยแพร่ได้ลองหยิบกล้องถ่ายภาพดิจิทัลแล้วบันทึกภาพในโหมด Video พร้อมบรรยายแบบไม่ทางการมากนัก เพียงเท่านี้ก็สามารถ Upload และนำเสนอผ่าน Facebook ได้ง่ายๆ แล้วครับ
- ประเด็นก็คือ Video ที่นำมาเผยแพร่ได้บันทึกและเป็นสมบัติของหน่วยงานหรือไม่อย่างไร
- การโต้ตอบกับเพื่อนๆ สมาชิก อย่าให้สื่อสังคม เครือข่ายสังคม เช่น Facebook เป็นเพียงช่องทางถามอย่างเดียวนะครับ ควรมีบุคลากรสื่อสาร โต้ตอบ รวมทั้งการส่งต่อคำถามไปยังผู้เกี่ยวข้อง
- การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหาแ่ต่ละส่วนให้เหมาะสม อันนี้สำคัญมาก
- การกลั่นกรองเนื้อหาเพื่อป้องกันการละเมิดปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าไม่อยากถูกจับ หรือมีประเด็นฟ้องร้องควรให้ความสำคัญกับการนำเสนอภาพ ฟอนต์ (กราฟิก) และข้อความด้วยนะครับ เช่น การนำข้อความสำคัญจากหนังสือมาเผยแพร่ ซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ
- การใช้ความสามารถอัตโนมัติเพื่อเผยแพร่ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่น RSS Feed, TwitterFeed อันนี้มีจุดเด่นมากเช่นกัน
- การเลือกใช้ Facebook Apps อย่างเหมาะสม และหมั่นตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งว่าไม่ใช่ Spy & Spam Apps ที่จะไปสร้างภาระให้ผู้อื่นด้วยนะครับ
- การใช้ Social Media/Networking ก็ควรมีระดับการใช้ที่เหมาะสม เช่น การกำหนดเป็นกลุ่มปิดเพื่อการสื่อสารภายในองค์กร หรือกับผู้เกี่ยวข้องเฉพาะกลุ่ม ภายใต้เกณฑ์ปฏิบัติที่กำหนดร่วมกัน
- สำหรับการสื่อสารผ่านสาธารณะ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูลส่วนตัว แต่ควรให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลกิจกรรมขององค์กร รวมทั้งการแสดงตนให้เด่นชัดในภาพของ Knowledge Leader เน้นการนำเสนอสาระความรู้ควบคู่อย่างเหมาะสม
- ไม่ควรใช้ Social Media โดยละเลยเว็บไซต์หน่วยงาน ตัวอย่างการใช้ FB ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานโดยลิงก์ตรงไปยัง Youtube แทนที่จะนำ Embed code ของ Youtube มาใส่ในเว็บของหน่วยงานแล้วเผยแพร่ด้วยลิงก์ของเว็บหน่วยงาน แม้นว่าจะช่วยให้ “เร็ว” ได้ดั่งใจ แต่ผลกระทบกลับมีสูงต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ ข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บในองค์กร (ภาพ ข่าว เก็บที่เครื่องของผู้ให้บริการ Social Media) แถมยังไม่ได้เพิ่มยอดฮิตกลับมายังเว็บหน่วยงาน ส่งผลให้เว็บหน่วยงานเงียบเฉาต่อไป
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตรประจําตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจําตัวประชาชน ดาวน์โหลดเอกสาร