แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน
เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน โดยสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดาวน์โหลดเอกสาร
คู่มือการเตรียมสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ
สื่อดิจิทัลในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมากที่มาร่วมกันทำงานผ่านเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งสื่อดิจิทัลจำนวนมากอาจจะเกิดปัญหาจากการใช้งาน จากการสร้างสรรค์ เช่น การที่ไม่สามารถเปิดแฟ้มเอกสารดิจิทัลเพราะความแตกต่างของรุ่น (Version) ของโปรแกรมที่ใช้สร้าง/เปิดแฟ้มเอกสาร การจัดหน้าเอกสารที่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ การแสดงผลภาษาไทย
ที่ผิดพลาดทั้งประเด็นจากแบบอักษร (Font) และการเข้ารหัสภาษาไทย (Thai Encoding) รวมถึงปัญหาจากการละเมิดลิขสิทธิ์ การกำหนดแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสื่อดิจิทัลเพื่อให้ได้คุณภาพ จึงมีความจำเป็น และหน่วยงานต้องกำหนดเป็นแนวปฏิบัติระดับองค์กรร่วมกัน
ฟอนต์ TH Sarabun PSK – TH Sarabun New
วันนี้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับฟอนต์ TH Sarabun จากพี่ Virat Puengsara – SIPA ดังนี้
“ประกาศให้รับทราบทั่วกันว่า การใช้ฟอนต์สำหรับใช้พิมพ์หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรี 6 ชนิด 11 ประเภท ตามมติ ครม. อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะฟอนต์ TH Sarabun PSK สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และฟอนต์ TH Sarabun New สำหรับ Windows XP บางรุ่นซึ่งมีปัญหาตัวบางจนใช้งานไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันปัญหาน่าจะหมดไปแล้ว ขอให้กลับมาใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK เพียงฟอนต์เดียว (เลิกใช้ฟอนต์ TH Sarabun IT๙ เนื่องจากใช้วิธีแก้ไขตัวเลขไทยไม่ถูกต้องตามหลักการของ Unicode ทำให้เกิดปัญหาในการแลกเปลี่ยนเอกสาร) เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน”
โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
เฉพาะหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกฯ 6 ชนิด 11 แบบที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันครับ ปัญหาที่พบคือ การใช้ฟอนต์ต่างกัน จะต้องมานั่งจัดหน้าเอกสารกันใหม่ทุกครั้ง แม้แต่การแลกเปลี่ยนไฟล์ที่ใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK กับฟอนต์ TH Sarabun New เอง หากเครื่องปลายทางมีฟอนต์ต่างกัน ส่วนเอกสารอื่นๆ ที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนกับใคร สามารถใช้ฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ได้ทั้งฟอนต์ราชการ 13 ฟอนต์และฟอนต์อื่นๆ ตามใจชอบครับ
TH Sarabun New แก้ปัญหาตัวหนังสือบางและจางบน Windows XP ของแท้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขให้ตัวหนาขึ้น เพื่อการใช้งานในเครื่องของหน่วยงานราชการ เดี๋ยวนี้ Windows XP กำลังจะหมดไปตามอายุใช้งานของคอมพิวเตอร์ Windows รุ่นใหม่ๆ ก็ได้แก้ไขปัญหาฟอนต์สีจางหมดแล้ว ฟอนต์ TH Sarabun New จึงหมดความจำเป็น และเหตุผลประการสำคัญ MS Windows กำลังจะบรรจุฟอนต์ TH Sarabun PSK มาในชุด MS Office 365 เพื่อขจัดปัญหาการจัดหน้าเอกสารซ้ำซากเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกันให้หมดไปครับ
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจํานวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กําหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จําเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ทําให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคําขออนุญาตดําเนินการต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้องและศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
การจัดทำคู่มือประชาชน
แนวทางการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนด้วยพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ซึ่งมาตรา 7 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีการอนุญาตต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ ขั้นตอนระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ และให้นำคู่มือสำหรับประชาชนปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ยื่นคำขอ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงขอแจ้งให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 Tag การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน, คู่มือประชาชน, พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ, มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนให้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ด้วย
แนวปฏิบัติการพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร หน่วยงาน กิจกรรมหรือบุคคล ดังนั้นการออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ชมเว็บเป็นหลัก คือ ไม่เกิดปัญหาการแสดงผลภาษาไทย โหลดได้เร็ว สืบค้นได้ง่าย รองรับกับเทคโนโลยีส่วนมากของผู้ชมเว็บ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ขอนำเสนอแนวปฏิบัติที่จำเป็นในการออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ดังนี้
แนวปฏิบัติการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับเว็บไซต์…..
ในสังกัด…
ประกาศ ณ วันที่ ….
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความนิยมในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้บริการต่างๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายในการนำเสนอข้อมูล หรือติดต่อสื่อสาร หรือประกอบธุรกรรมต่างๆ มากขึ้นตามไปด้วย
เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลดังกล่าวของหน่วยงานมีคุณภาพสูง สวย ใช้งานได้ดี จาก Web browser ทุกชนิด รวมทั้งควรมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลงานทุกประเภทของหน่วยงาน และเป็น Search engine friendly คณะทำงานบริหารและพัฒนาเทคนิคเว็บไซต์จึงได้กำหนดรูปแบบแนวปฏิบัติของการจัดทำเว็บไซต์ ซึ่งสนับสนุนฟังก์ชันและพันธะกิจขององค์กร โดยเน้นที่ประสิทธิภาพ ความสอดคล้อง และการเข้าถึงโดยไม่แบ่งชนชั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้สนใจทั่วไป
การเตรียมไฟล์ PDF ที่เป็นมิตรกับ Search Engine
เอกสาร PDF เป็นเอกสารอีกฟอร์แมตที่ถูกใช้เพื่อเผยแพร่ผลงานผ่านอินเทอร์เน็ต และคาดหวังว่าจะถูกค้นด้วย Google หรือ Search Engine ได้ง่าย โดยการเตรียมแฟ้มเอกสาร PDF ให้สะดวกกับการเข้าถึงของ Search Engine จำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ดังนี้
ชื่อแฟ้มเอกสาร PDF
ควรเป็นคำภาษาอังกฤษที่สั้น กระชับ ประกอบด้วยคำที่ผู้ใช้รู้จักและใช้สืบค้นได้ง่าย นอกจากนี้ชื่อแฟ้มเอกสารยังถูกใช้เป็น Title แสดงบนหน้าผลลัพธ์ของการสืบค้น หากเอกสาร PDF ไม่ได้ระบุ Title เอาไว้
-
- ไม่ควรใช้คำภาษาไทย
- ห้ามใช้อักขระพิเศษ และช่องว่าง ยกเว้นเครื่องหมาย _ หรือ –
หลักการกำหนดรหัสผ่าน
- ควรจะมีอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ซึ่งควรประกอบด้วยทั้งตัวอักษรและตัวเลข และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีอักษรภาษาอังกฤษตัวเลขและใหญ่ผสมกัน พร้อมกับอักขระพิเศษ ซึ่งการใช้จำนวนตัวอักษรและความหลากหลายของแบบ/ชนิดตัวอักษรเพิ่มมากเท่าไรก็จะเพิ่มความลำบากให้กับ hacker เพิ่มขึ้น นั่นคือช่วยให้ hack ต้องเสียเวลาในการถอดรหัสเพิ่มขึ้น
- หาวิธีตั้งเวลาเตือนความจำ เตือนให้เปลี่ยนรหัสให้บ่อยๆ เช่น เปลี่ยนทุกๆ 3 เดือน อย่างช้าไม่ควรเกิน 180 วัน ควรเปลี่ยนให้บ่อยขึ้นโดยเฉพาะสำหรับรหัสผ่านที่เกี่ยวข้องการจ่ายเงิน บัญชีธนาคาร การจ่ายเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต หรือรหัสเข้าใช้อีเมลที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันตัวตนในเรื่องการเงิน หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญมากๆ เป็นต้น
- ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้รหัสผ่านเดียวกันในทุกๆ บัญชีออนไลน์ เช่น ธนาคาร อีเมล บัตรเครดิต หรือบัญชีอื่นๆ ที่ข้อมูลมีความสำคัญ ล่อแหลม และละเอียดอ่อน ที่อาจจะกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- รหัสผ่านไม่ควรเป็นใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดือนทาง หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมุลอื่นๆ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลจากการไปลงทะเบียน/สมัคร ร่วมกิจกรรม/ชิงรางวัล/สมัครบัญชีเข้าใช้เว็บไซต์ออนไลน์ต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น บัญชีเข้าใช้บริการออนไลน์ตรวจสอบ/เช็คยอด การใช้งานโทรศัพท์มือถือ เช็คยอดการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งที่มีโอกาสที่ข้อมูลที่ลงทะเบียนสมัครไว้ จะเล็ดรอดออกมาได้จากข้อผิดพลาดจากระบบ หรืออาจถูก hack ระบบฐานข้อมูลเหล่านั้นได้เสมอ
- รหัสผ่านไม่ควรเป็นคำในพจนานุกรมไม่ว่าจะเป็นพจนานุกรมของภาษาใดๆ ก็ตามในโลกนี้ เพราะ hacker ได้พยายามรวบรวมฐานข้อมูลเหล่านั้นไว้เรียบร้อยแล้ว
- ปัจจุบันโปรแกรม hacking password มีความฉลาดขึ้น การใช้ตัวอักษรอักขระพิเศษแทนตัวอักษร ที่เรียกว่า “common letter-to-symbol conversions” เช่น ตัวอักษร ‘a’ แทนด้วย ‘@’ หรือ ‘&’ หรือ การใช้ ‘2’ แทนคำว่า ‘to’ สำหรับการตั้งรหัสผ่านอาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงไม่ควรใช้ตั้งรหัสผ่านด้วยการพิมพ์อักษรภาษาอังกฤษที่เรียงอยู่ติดกันบนแป้นพิมพ์/คีย์บอร์ด เช่น qwerty,asdfgh และ คำภาษาอังกฤษที่สะกดคำเรียงลำดับกลับหลัง/ คำย่อ ตัวย่อ/ คำที่มักสะกดผิดบ่อยๆ/ ตัวอักษร/ตัวเลขทีเรียงกัน abcdefghijk, 123456789, 11223344
- กรณีสำหรับ password ที่สำคัญมากๆ ไม่ควรแจ้งเปิดเผยกับคนอื่น ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดจริงๆ หรือเป็นผู้ที่ไว้ใจได้จริงๆ (โดยอาจต้องมีพยานและ/หรือ หลักฐานยืนยันเพิ่มเติม รับรู้การแจ้งข้อมูลรหัสผ่านให้กับบุคคลอื่น) ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านทันทีหลักจากที่เสร็จสิ้นธุระแล้วในขณะนั้น