แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
13 Timeline
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจํานวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กําหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จําเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ทําให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคําขออนุญาตดําเนินการต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้องและศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
การจัดทำคู่มือประชาชน
แนวทางการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนด้วยพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ซึ่งมาตรา 7 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีการอนุญาตต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ ขั้นตอนระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ และให้นำคู่มือสำหรับประชาชนปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ยื่นคำขอ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงขอแจ้งให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 Tag การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน, คู่มือประชาชน, พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ, มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน
คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนให้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ด้วย
การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การมหาชน
ประเด็นเกี่ยวกับหลักการ การกำกับดูแลองค์การมหาชน ความสัมพันธ์กับกระทรวง การแต่งตั้งและการเข้าประชุมของกรรมการโดยตำแหน่ง และการขอจัดตั้งองค์การมหาชน เอกสารไฟล์ดิจิทัล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
2 ก.ย. 48
การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอเรื่อง การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป โดยส่วนราชการทั้งหมดให้จดชื่อโดเมนในหมวด go.th รัฐวิสาหกิจให้จดชื่อโดเมนในหมวด co.th องค์การมหาชนอิสระให้จดในหมวด or.th และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐให้พิจารณาจดชื่อโดเมนในหมวดที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานในระดับกระทรวงทั้งหมดให้จดชื่อโดเมน โดยขึ้นต้นด้วย “mo” ตามด้วยอักษรที่แสดงชื่อย่อที่เป็น acronym ของกระทรวงไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากเกิน 2 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 3 ตัวอักษร ให้ยกเว้นไม่ต้องใส่ตัวอักษร “o” ใส่แต่ตัวอักษร “m” ตามด้วยชื่อย่อ และหากเกิน 3 ตัวอักษร หรือซ้ำกับกระทรวงอื่น ให้ขึ้นต้นด้วย “m-” ตามด้วยชื่อเต็มที่สื่อชื่อกระทรวงได้ดีที่สุด ส่วนหน่วยงานภาครัฐในระดับกระทรวง กรม หรือเทียบเท่ากรม (ครอบคลุมทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนอิสระ และหน่วยงานรัฐประเภทอื่นๆ หากมี) ให้กระทรวงต้นสังกัดกำหนดชื่อโดเมนในลำดับที่ 3 ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีความพร้อม สามารถจองชื่อไว้ก่อนได้ รวมทั้งหน่วยงานในระดับต่ำกว่ากรมสามารถจองหรือจดชื่อโดเมนลำดับที่ 3 ได้เช่นกัน หากมีความพร้อม และ/หรือใช้ชื่อโดเมนในลำดับที่ 4 ภายใต้กรมหรือกระทรวงต้นสังกัดก็ได้ และในการจดทะเบียนภายใต้ .go.th จะต้องมี domain name administrator ซึ่งควรจะเป็นปลัดกระทรวง ในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกระทรวง อธิบดีหรือเทียบเท่าในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมโดยตำแหน่ง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ระเบียบ ว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
รายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ