เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN
https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ห้องสมุดเอกสารสาธารณะอ้างอิงเพื่อการพลิกโฉมรัฐบาลไปสู่ดิจิทัล (Government Digital Transformation)
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Geographical Names มาตรฐานของชื่อสถานที่ในภาษา ตัวอักษร และวัฒนธรรม โดย UN
https://unstats.un.org/unsd/ungegn/pubs
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติที่เป็นสากล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. Reference Classifications เป็นการจัดจำแนกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสากล โดยจะต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การ แรงงานระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก เป็นต้น และเป็นประเภทของการจัดจำแนกที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกของตน โดยอาจใช้เป็นตัวอย่าง ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดจำแนก ทั้งในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ
2. Derived Classifications เป็นการจัดจำแนกที่จัดทำขึ้นโดยใช้ Reference Classifications เป็นหลัก เฉพาะในส่วนของโครงสร้างและการจัดลำดับ โดยมีการเพิ่มรายละเอียดหรือมี การปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ
3. Related Classifications เป็นการจัดจำแนกที่มีการอ้างอิงถึง Reference Classifications แต่มีเพียงบางส่วนที่สอดคล้องกับ Reference Classifications ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานสากลจึงไม่ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ได้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำมาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแบบ Reference Classifications ซึ่งเป็นการจัดจำแนกที่มีโครงสร้างและการจัดลำดับเช่นเดียวกับมาตรฐานสากลที่เป็นต้น ฉบับทุกประการ ทำให้ข้อมูลที่จัดจำแนกตามแบบดังกล่าว สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ทั้งในระดับของโครงสร้างหลักและในแต่ละระดับย่อยของการจัดจำแนก และในการจัดทำ มาตรฐานการจัดจำแนกข้อมูลสถิติแต่ละเรื่อง สำนักงานฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ขึ้นมาพิจารณา
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ใน SciVal นอกจากจะจำแนกหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus แล้ว ยังสามารถจำแนกตามการจัดกลุ่มที่ใช้ใน QS World University Rankings, THE World University Rankings, Frascati Manual of the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการวิเคราะห์และรายงานข้อมูลหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มที่ใช้ในแหล่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ ยังมี map หมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่ม ASJC (All Science Journal Classification) ที่ใช้ในฐานข้อมูล Scopus กับหมวดหมู่ผลงานตีพิมพ์ตามการจัดกลุ่มต่างๆ ในรูปแบบ Excel sheet ให้ดาวน์โหลด ดังนี้
รายงานการศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่หรืออนุกรมวิธานอุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสมาชิกและพันธมิตรของ OECD (the Organisation for Economic Cooperation and Development) จากอัตราส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัย (R & D intensity) การจัดทำอนุกรมวิธานนี้พัฒนาจาก the International Standard Industrial Classification, ISIC เวอร์ชั่น 4 ซึ่งไม่เพียงแต่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิต แต่ยังรวมอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น การเกษตร การทำเหมืองแร่ สาธารณูปโภค การก่อสร้าง และธุรกิจบริการ เป็นต้น โดยนำอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทที่จัดกลุ่มตาม ISIC Rev.4 มาจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม ได้แก่ high, medium-high, medium, medium-low, และ low ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ และไม่ถือว่าเป็น Technology Classification ตัวอย่างเช่น
Figure 1 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามค่า R & D intensity ของกลุ่ม High (source: https://www.oecd-ilibrary.org/science-and-technology/oecd-taxonomy-of-economic-activities-based-on-r-d-intensity_5jlv73sqqp8r-en)
ตัวเลข 2 หลัก ได้แก่ 21, 26 เป็นเลข division และตัวเลข 303 เป็นเลข group ย่อย ภายใต้ division 30 ตามการจัดกลุ่ม (classification) ของ ISIC Rev.4 และจัดกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม (high, medium-high, medium, medium-low, และ low) ตามค่า R & D intensity ที่คำนวณได้ (รายละเอียดการคำนวณสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5jlv73sqqp8r-en.pdf) อย่างไรก็ตาม อนุกรมวิธานหรือ Taxonomy นี้เป็นเพียงรายงานผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ Taxonomy จากค่า R & D intensity ของ Fernando GalindoRueda และ Fabien Verger และเผยแพร่เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน และยังไม่มีฉบับประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการจาก OECD
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
Technology Taxonomy ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นอัพเดทจาก the Technology Area Breakdown Structure (TABS) of 2015 NASA Technology Roadmaps ซึ่ง TABS ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Taxonomy ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ด้วย เพื่อแสดงโครงสร้างภาพรวมเทคโนโลยีของ NASA ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของ NASA ในการจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อภารกิจด้านอวกาศในอนาคต รวมถึงการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์ สำหรับเวอร์ชั่น 2020 นี้ ประกอบด้วย TX หรือ taxonomy ทั้งสิ้น 17 สาขาวิชา (ปี 2015 ประกอบด้วย 15 สาขาวิชาหลัก และเรียกว่า Technology Areas หรือ TA) แบ่งกลุ่มไล่ระดับชั้น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 หมายถึง สาขาวิชาหลัก ระดับที่ 2 หมายถึง สาขาวิชาย่อย และ ระดับที่ 3 หมายถึง เทคโนโลยีย่อยภายใต้สาขาวิชาย่อย ตัวอย่างเช่น
แต่ละ TX ประกอบด้วยคำอธิบายว่าครอบคลุมเทคโนโลยีใดบ้าง พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ผู้นำไปศึกษาหรือปรับใช้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น
เวอร์ชั่น 2020 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2017 นำโดย NASA Center Technology Council (CTC) the Office of the Chief Technologist (OCT) และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ของ NASA ฉบับร่างของ 2020 NASA Technology Taxonomy จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของ NASA เช่น Technical Fellows, Systems Capability Leaders และ Principal Technologists เป็นต้น เพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ และปรับแก้ ตรวจสอบความสม่ำเสมอต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนศักยภาพและภารกิจของ NASA ให้มากที่สุด ระหว่างปี 2018 – 2019 NASA เชิญชวนให้ประชาคมเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดาวน์โหลดและศึกษาร่าง 2020 NASA Technology Taxonomy เพื่อขอความคิดเห็นหรือคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนเผยแพร่ฉบับจริงเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
การเขียนชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ ประกาศราชบัณฑิตยสถาน 14 กันยายน 2543 โดยใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
ทั้งนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาร่วมกับทีมนักวิจัยจากเนคเทค สวทช. พัฒนา แอปพลิเคชัน “ชื่อบ้านนามเมือง” เพื่อให้สะดวกต่อการสืบค้นและใช้งาน โดยดาวน์โหลดได้จาก Google Play และ iOS
นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำ รหัสมาตรฐานเขตการปกครองของไทย ลงวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่เป็นอีกแนวทางการเขียนชื่อจังหวัด ชื่ออำเภอ ดังรายละเอียด
รวมทั้งยังมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๔๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รหัสจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ล่าสุดสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ปรับปรุงชื่อจังหวัดและเผยแพร่เป็น Open Data ซึ่งเข้าถึงได้ที่ data.go.th
รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
บัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ดาวน์โหลดเอกสาร มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)
ที่มา : https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-005/54417-2/
มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
การจัดทำมาตรฐานข้อมูล วิธีการจัดตั้งคณะทำงาน และกระบวนการจัดทำรายการมาตรฐานข้อมูลร่วม ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติในการพัฒนาระบบข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงกระบวนการและข้อมูลระหว่างระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ