แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570

“บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน” มุ่งยกระดับภาครัฐไทยสู่เป้าหมายการให้บริการที่ตอบสนองประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ การสร้างความโปร่งใส ที่เน้นการเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนโดยไม่ต้องร้องขอและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเป็นภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป แผนรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ข้างต้นไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1: ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 2: พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างมูลค่าเพิ่มอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 4: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

Read more

มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566

pdf-iconประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดท าบัญชีข้อมูลภาครัฐและ แนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

เพื่อกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำคำอธิบาย ชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ สามารถบูรณาการ ให้บริการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ

โดยมีเอกสารแนบท้ายประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่
มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ
มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ

ความสำคัญในการจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐบัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร?

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำนัการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ. (2023, มีนาคม 27). ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐและแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มรด. 3-1: 2565 และ มรด. 3-2 : 2565). Digital Government Standard. https://standard.dga.or.th/dg-std/5725/

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ…

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการส่ง การเก็บรักษา เอกสารหลักฐานหรือหนังสือ และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 1 ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดที่ประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตนกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เพื่อยื่นหรือส่งเอกสารหลักฐานหรือหนังสือ ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้บริการภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และต้องมีระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศตามที่ประกาศบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ข้อ 2 ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดที่ประสงค์จะจัดทำเอกสารหลักฐานหรือหนังสือเพื่อยื่นหรือส่งให้แก่กรมสรรพากโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นนอกจากการดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตามรูปแบบ ขนาด ประเภท และรายการข้อมูลที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2566). ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 48) เรื่อง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการส่ง การเก็บรักษา เอกสารหลักฐานหรือหนังสือ และความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์. ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D038S0000000007300.pdf

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570

ด้วยพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 44(3) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อกำหนดและกำกับทิศทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยใช้แนวทางตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมุ่งเน้นให้ คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต และสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยท่านสามารถดาวน์โหลด (ฉบับสมบูรณ์) อ่าน และ ทำความเข้าใจได้ที่ QR Code บนภาพ หรือคลิกเพื่อ PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

หรืออ่านเอกสารสรุปสาระสำคัญแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสารสรุปสาระสำคัญ

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาวตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2022). แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566—2570. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาวตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). https://www.tsri.or.th/content/31/thailand-sri-plan/

คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยง และแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เวอร์ชั่น ๑.๐

สคส. เผยแพร่ “คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล”
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้จัดทำคู่มือดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. (2565). คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยง และแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เวอร์ชั่น ๑.๐. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. https://www.mdes.go.th/uploads/tinymce/source/สคส/คู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล%20v1-0.pdf

 

ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570)

นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่และอำนาจ เสนอนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรา 42 และมาตรา 43 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นี้ใช้เป็นแผนแม่บท ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมที่ครอบคลุมในทุกมิติ และเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ มาตรา 9 (3) บัญญัติให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สำหรับเป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยซเบอร์ในสถนการณ์ปกติและในสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยแผนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติ และกรอบนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565—2570). ราชกิจจานุเบกษา. https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=139D288S0000000000700

แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาในภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับใช้ภายในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือเป็นการเสนอแนะแนวปฏิบัติวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ได้ตามระดับความพร้อม ซึ่งเนื้อหาได้อ้างอิงจากกฎหมาย มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเท่านั้น

PDF Pic ดาวน์โหลด เอกสารแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2022, October 3). มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ—ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565). Digital Government Standard. https://standard.dga.or.th/dga-std/5212/

 

PDPA Compliance Guideline : แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA

เมื่อองค์กรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ในการดำเนินธุรกิจ องค์กรก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งใน ด้านวิธีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร การรักษาความ ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ PDPA กำหนดไว้
PDPA Compliance Guideline แนวทางฉบับย่อนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรที่กำลังจะเริ่มต้น ดำเนินการให้องค์กรของตนสอดคล้องกับ PDPA โดยจะอธิบาย ให้เห็นถึงแนวทางการเริ่มดำเนินการและทำให้องค์กรเข้าใจใน ขั้นตอนที่ควรดำเนินการมากยิ่งขึ้น

– ตรวจสอบระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กรเชิงลึก
– จัดทำเอกสารทางกฎหมาย
– บริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กร

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – Thai version

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – English version

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Data Wow Co., Ltd. (2022). PDPA Compliance Guideline: แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA. Data Wow Co., Ltd. https://pdpacore.com/

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

แนวปฏิบัตินี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทำธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งธุรกรรมที่ใช้ในศาลและชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นแนวทางในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นหลัก ทั้งนี้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นยังอาจอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่น ซึ่งกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดเอาไว้ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ยังอาจไม่ครอบคลุมหน้าที่ตามกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นทั้งหมดได้ โดยในส่วนต้นนี้จะได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในธุรกรรม

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

รศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง & ปาลิตา รุ่งระวี. (2565). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (TESG 1.0). ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.law.chula.ac.th/event/14988/

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ประธานฯ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

PDPA Guideline สำหรับองค์กรเอกชน—เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ PDPC. (2022, มีนาคม 29). PDPA Starter Kit. https://pdpathailand.com/knowledge-pdpa/full-pdpa-guideline-by-thienchai/