ระเบียบ สวทช. ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ. 2563

ระเบียบ สวทช. ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วยเนื้อหา

หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 2 แนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
หมวด 3 การบริหารจัดการระบบสารสนเทศของสำนักงาน (สำหรับผู้ดูแลระบบ)
หมวด 4 การตรวจอบและประเมินความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (สำหรับผู้ตรวจสอบ)
หมวด 5 การใช้งานสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และเครือข่ายของสำนักงาน (สำหรับผู้ใช้งาน)
หมวด 6 การกำหนดความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ

pdf-icon ดาวน์โหลดเอกสาร

ข้อเสนอในการปรับปรุงการออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล และแนวปฏิบัติในการรับ-ส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคล

คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงเพื่อการพัฒนาระบบการออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล และแนวปฏิบัติในการรับ-ส่งหนังสือราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคล ตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น (๑) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการ MailGoThai ควรบริหารจัดการให้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ความเร็วของระบบ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้เกิดความเหมาะสมรองรับการปฏิบัติงานได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ และ (๒) หน่วยงานหลักควรพิจารณาถึงการใช้งบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินการ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และทำความเข้าใจในการขับเคลื่อนให้เกิดเอกภาพ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งควรพิจารณาถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลสำคัญของภาครัฐเป็นสำคัญ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ [เรื่อง มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน)] เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒ (เรื่อง การออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล) และเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ (เรื่อง การพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ) ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม
๓. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
๓.๑ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ติดต่อราชการระหว่างกันด้วยการรับ-ส่งหนังสือราชการทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓.๒ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักพิจารณาร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการออกใบอนุมัติ ใบอนุญาตผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนในการติดต่อขอใบอนุมัติใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้นด้วย

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ สวทช.

โดยที่มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ประกอบกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเชื่อมั่นว่าสำนักงานจะดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม สำนักงานจึงได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดังนี้

พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

การกำหนดหลักเกณฑ์ การจัดทำร่างกฎหมาย การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และการเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน หลักเกณฑ์การตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ และการกำหนดโทษอาญา เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายภายหลังเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วเพื่อพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และการเข้าถึงบทบัญญัติของกฎหมายของประชาชน ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา ๗๗ ประกอบกับมาตรา ๒๕๘ ค. ด้านกฎหมาย (๑) และ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ดาวน์โหลดเอกสาร

ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ

ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร.

ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). ระบบราชการ 4.0 กับ การสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. เลขาธิการ ก.พ.ร. https://www.dpe.go.th/manual-files-401291791810

การออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล

คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการการออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล โดยอาจพิจารณาให้มีการนำร่องดำเนินการในภารกิจของหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ผู้ประกอบการ และนักลงทุนเป็นสำคัญก่อน ตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องออก/ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว ก็ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความเห็นของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. …. ตามความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
๒. ในกรณีที่หน่วยงานใดไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเพื่อรองรับการดำเนินการผ่านระบบดิจิทัลได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือไม่สามารถพัฒนางานบริการให้เป็นระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) หรือยกเลิกการใช้กระดาษได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ตลอดจนในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้หน่วยงานดังกล่าวเร่งประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาการดำเนินการเป็นรายกรณี โดยจัดลำดับความสำคัญ เร่งด่วน และความพร้อมของหน่วยงาน รวมถึงระยะเวลาที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จด้วย
๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น (๑) ความพร้อมของหน่วยงานในการออกเอกสารผ่านระบบดิจิทัล เช่น ความพร้อมของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น (๒) การบูรณาการร่วมกันเพื่อการพัฒนาระบบและการเชื่อมโยงข้อมูล และ (๓) ความปลอดภัยทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
๔. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและซักซ้อมความเข้าใจกับบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ เพื่อให้การพัฒนางานบริการภาครัฐให้เป็นระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และการออกเอกสารของทางราชการผ่านระบบดิจิทัลมีมาตรฐานในการดำเนินงานในแนวทางเดียวกันและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

การลดการใช้กระดาษด้วย QR Code

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ครั้งที่ ๔๔ (ระหว่างวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑) ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเสนอ สรุปได้ ดังนี้

การบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐและการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน การจัดทำและเผยแพร่วีดิทัศน์เรื่อง การลดการใช้กระดาษด้วย QR Code และมาตรการยกเลิกการขอสำเนาเอกสารของทางราชการจากประชาชนทางช่องทางต่างๆ

การลดใช้กระดาษด้วย QR Code และ มาตรการยกเลิกการขอสำเนาเอกสารของทางราชการจากประชาชน

การลดการใช้กระดาษ ถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร ซึ่งในการประชุมต่าง ๆ จะมีเอกสารที่ใช้ในการประชุมเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการจัดทำเอกสารการประชุมเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้ดาวน์โหลดผ่าน QR Code รวมทั้งการแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุม upload ข้อมูลในเว็บไซต์ หรือส่งทางอีเมล์ หรือการส่ง QR Code แทนการแจกเอกสารในที่ประชุม
และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ และใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการเปิดดูเอกสารแทน

ดาวน์โหลดเอกสาร

TH Sarabun IT๙, TH Niramit IT๙

สืบเนื่องจากที่ได้เห็นประกาศศูนย์ไอที สำนักงานกลาง หรือฝ่ายธุรการที่ออกประกาศการใช้ฟอนต์ TH Sarabun IT๙, TH Niramit IT๙ ดังนี้

Read more

เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน

เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน โดยสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดาวน์โหลดเอกสาร