พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 12 มาตรา 15 วรรคสอง มาตรา 19 และมาตรา 22 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่มิใช่หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง

สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) บัญญัติให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.  2565. ราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/063/T_0001.PDF

แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565)

มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาในภาพรวมของการจัดทำกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการ “ขออนุญาต” หมายความรวมถึง ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขออาชญาบัตร ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอความเห็น ขอให้พิจารณา ขออุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ขอให้ดำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ มิได้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงานอื่นภายในหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับใช้ภายในสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือเป็นการเสนอแนะแนวปฏิบัติวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ได้ตามระดับความพร้อม ซึ่งเนื้อหาได้อ้างอิงจากกฎหมาย มาตรฐาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเท่านั้น

PDF Pic ดาวน์โหลด เอกสารแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ – ภาพรวม

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2022, October 3). มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ—ภาพรวม (GUIDELINES FOR DIGITAL GOVERNMENT PROCESS) (มสพร. 6-2565). Digital Government Standard. https://standard.dga.or.th/dga-std/5212/

 

PDPA Compliance Guideline : แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA

เมื่อองค์กรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ในการดำเนินธุรกิจ องค์กรก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม PDPA ทั้งใน ด้านวิธีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร การรักษาความ ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ PDPA กำหนดไว้
PDPA Compliance Guideline แนวทางฉบับย่อนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรที่กำลังจะเริ่มต้น ดำเนินการให้องค์กรของตนสอดคล้องกับ PDPA โดยจะอธิบาย ให้เห็นถึงแนวทางการเริ่มดำเนินการและทำให้องค์กรเข้าใจใน ขั้นตอนที่ควรดำเนินการมากยิ่งขึ้น

– ตรวจสอบระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กรเชิงลึก
– จัดทำเอกสารทางกฎหมาย
– บริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กร

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – Thai version

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร – English version

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

Data Wow Co., Ltd. (2022). PDPA Compliance Guideline: แนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับดำเนินการ ให้องค์กรสอดคล้อง PDPA. Data Wow Co., Ltd. https://pdpacore.com/

ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันมีประเทศ เขตการปกครองหรือเมืองหลวง เกิดขึ้นใหม่ บางประเทศแยกตัวเป็นอิสระจากกัน บางประเทศเปลี่ยนระบอบการปกครองและเปลี่ยนชื่อประเทศ บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้เปลี่ยนเมืองหลวงหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ ประกอบกับสำนักงนราชบัณฑิตยสภาได้แก้ไขการเขียนชื่อประเทศเขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามการออกสียงของเจ้าของภาษา และแก้ไขตัวสะกดชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาปรับปรุงและจัดทำเพิ่มขึ้นอีกหลายภาษาสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลจึงได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

บัดนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล พร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงให้ยกเลิกประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 แล้วกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ดังแนบท้ายประกาศนี้แทน จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่องกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0028.PDF

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง

โดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอว่า ในปัจจุบันชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สถานะ และ เขตการปกครอง บางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้ย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ประกอบกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้จัดทำประกาศ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2565 ขึ้นใหม่ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เห็นชอบให้ใช้ ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทางราชการถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดซื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง  กำหนดชื่อประเทศ  ดินแดน  เขตการปกครอง  และเมืองหลวง. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/205/T_0013.PDF

 

ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

เพื่อให้การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ โดยให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงและรับรู้ประเภทข้อมูลข่าวสารที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีครอบครองอยู่ และเพื่อประโยชน์ในการขอข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/201/T_0044.PDF

 

ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อให้ประชาชนใช้คำทับศัพท์ได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ โดยสามารถเข้าถึงได้ที่ https://transliteration.orst.go.th/search

หลักเกณฑ์การทับศัพท์
1. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
2. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป
3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต, เชิ้ต, ก๊าซ, แก๊ส
4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม
5.  ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น

สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ที่ https://www.orst.go.th/iwfm_table.asp?a=36

แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)

แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง เทคโนโลยีการสร้างความสามารถให้แก่ เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วยอัลกอริทึมและกลุ่มเครื่องมือทางสถิติ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ทรงปัญญา ที่สามารถเรียนรู้ เลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ ในบางกรณีอาจไปถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทร่วมขับเคลื่อนในแต่ละภาคส่วนจะช่วยทำให้ภาคเศรษฐกิจ และมีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจในหลาย ประเทศตอบโจทย์มิติของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ที่ถูกตั้ง ไว้เป็นเป้าหมายของผลการดำเนินงานและมาตรฐานของทั้งภาคอุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจในหลาย ประเทศทั่วโลก

https://www.facebook.com/aithailandcommu

ผลดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 ได้จัดอันดับประเทศ ไทย อยู่ในลำดับที่ 60 ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังไม่มีนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านแห่งชาติทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะมีการอ้างอิงความจำเป็นในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลปี 2562 ทั้งนโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วน อีกทั้งแนวโน้มการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในประเทศก็มีการขยายตัวอย่างมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมให้มีความฉลาด เชื่อมโยง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการด้าน ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ของประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน รูปแบบของการพัฒนาแบบองค์รวม ที่เรียกว่า BCG Economy ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

Read more

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

แนวปฏิบัตินี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทำธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งธุรกรรมที่ใช้ในศาลและชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นแนวทางในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นหลัก ทั้งนี้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นยังอาจอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่น ซึ่งกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดเอาไว้ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ยังอาจไม่ครอบคลุมหน้าที่ตามกฎหมายอื่นหรือข้อกำหนดเหล่านั้นทั้งหมดได้ โดยในส่วนต้นนี้จะได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในธุรกรรม

PDF Pic ดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

รศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง & ปาลิตา รุ่งระวี. (2565). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (TESG 1.0). ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.law.chula.ac.th/event/14988/

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ประธานฯ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล

 

รูปแบบอ้างอิงเอกสารฉบับนี้ :

PDPA Guideline สำหรับองค์กรเอกชน—เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ PDPC. (2022, มีนาคม 29). PDPA Starter Kit. https://pdpathailand.com/knowledge-pdpa/full-pdpa-guideline-by-thienchai/