ภาระกิจหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คือ การทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยมาตรฐานสาขาวิจัยเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ทราบว่าประเทศไทย มีงานวิจัยในแต่ละสาขาปริมาณเท่าใด อย่างไรก็ดีสาขาวิจัยที่ วช. กำหนด อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จึงขอนำเสนอรายละเอียดของสาขาวิจัยทั้ง 12 สาขา ดังรายละเอียด
01. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-คณิตศาสตร์และสถิติ 02-ฟิสิกส์ 03-ดาราศาสตร์ 04-วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ 05-ธรณีวิทยา 06-อุทกวิทยา 07-สมุทรศาสตร์ 08-อุตุนิยมวิทยา 09-ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
02. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์การแพทย์ 02-แพทยศาสตร์ 03-สาธารณสุข 04-เทคนิคการแพทย์ 05-พยาบาลศาสตร์ 06-ทันตแพทยศาสตร์ 07-สังคมศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
03. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-อนินทรีย์เคมี 02-อินทรีย์เคมี 03-ชีวเคมี 04-เคมีอุตสาหกรรม 05-อาหารเคมี 06-เคมีโพลิเมอร์ 07-เคมีวิเคราะห์ 08-ปิโตรเคมี 09-เคมีสิ่งแวดล้อม 10-เคมีเทคนิค 11-นิวเคลียร์เคมี 12-เคมีเชิงฟิสิกส์ 13-เคมีชีวภาพ 14-เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ 15-เภสัชอุตสาหกรรม 16-เภสัชกรรม 17-เภสัชวิทยาและพิษวิทยา 18-เครื่องสำอาง 19-เภสัชเวท 20-เภสัชชีวภาพ ฯลฯ
04. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ทรัพยากรพืช 02-การป้องกันกำจัดศัตรูพืช 03-ทรัพยากรสัตว์ 04-ทรัพยากรประมง 05-ทรัพยากรป่าไม้ 06-ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 07-อุตสาหกรรมเกษตร 08-ระบบเกษตร 09-ทรัพยากรดิน 10-ธุรกิจการเกษตร 11-วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร 12-สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร 13-วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฯลฯ
05. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 02-วิศวกรรมศาสตร์ 03-อุตสาหกรรมวิจัย ฯลฯ
06. สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา 01-ประวัติศาสตร์ 02-โบราณคดี 03-วรรณคดี 04-ศิลปกรรม 05-ภาษา 06-สถาปัตยกรรม 07-ศาสนา ฯลฯ
07. สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-กฎหมายมหาชน 02-กฎหมายเอกชน 03-กฎหมายอาญา 04-กฎหมายเศรษฐกิจ 05-กฎหมายธุรกิจ 06-กฎหมายระหว่างประเทศ 07-กฎหมายวิธีพิจารณาความ ฯลฯ
08. สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 02-นโยบายศาสตร์ 03-อุดมการณ์ทางการเมือง 04-สถาบันทางการเมือง 05-ชีวิตทางการเมือง 06-สังคมวิทยาทางการเมือง 07-ระบบการเมือง 08-ทฤษฎีการเมือง 09-รัฐประศาสนศาสตร์ 10-มติสาธารณะ 11-ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง 12-เศรษฐศาสตร์การเมือง ฯลฯ
09. สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-เศรษฐศาสตร์ 02-พาณิชยศาสตร์ 03-บริหารธุรกิจ 04-การบัญชี ฯลฯ
10. สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-สังคมวิทยา 02-ประชากรศาสตร์ 03-มานุษยวิทยา 04-จิตวิทยาสังคม 05-ปัญหาสังคมและสังคมสงเคราะห์ 06-อาชญาวิทยา 07-กระบวนการยุติธรรม 08-มนุษย์นิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม 09-พัฒนาสังคม 10-ภูมิปัญญาท้องถิ่น 11-ภูมิศาสตร์สังคม 12-การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ 13-คติชนวิทยา ฯลฯ
11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-วิทยาการคอมพิวเตอร์ 02-โทรคมนาคม 03-การสื่อสารด้วยดาวเทียม 04-การสื่อสารเครือข่าย 05-การสำรวจและรับรู้จากระยะไกล 06-ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 07-สารสนเทศศาสตร์ 08-นิเทศศาสตร์ 09-บรรณารักษ์ศาสตร์ 10-เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร ฯลฯ
12. สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 01-พื้นฐานการศึกษา 02-หลักสูตรและการสอน 03- การวัดและการประเมินผลการศึกษา 04-เทคโนโลยีการศึกษา 05-บริหารการศึกษา 06-จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา 07-การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ 08-พลศึกษา ฯลฯ