การสมควรกําหนดขนาด สี และลักษณะของบัตร และรายการในบัตรและรายละเอียดของรายการในบัตร รวมทั้งแบบบัตรประจําตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตลอดจนกําหนดให้เจ้าพนักงานออกบัตรสามารถกําหนดมาตรการตรวจสอบและป้องกันการปลอมแปลงบัตรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ร่างพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ…. เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ชุดที่มีนายสมัดร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนครี ต่อประธาน
สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ดาวน์โหลดเอกสาร
ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
วันที่ 7 ก.ย. 2553 ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [[ (สอซช.) หรือ Software Industry Promotion Agency เรียกโดยย่อว่า SIPA]] และกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) โดยมตินี้ประกาศให้ใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
กฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
การกําหนดวิธีการพิมพ์ลายนิ้วมือในการขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจําตัวประชาชน และการเก็บลายพิมพ์นิ้วมือไว้ในบัตร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการพัฒนาระบบการจัดทําบัตรประจําตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ รวมทั้งป้องกันการทุจริตในการทําบัตรประจําตัวประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงแบบ สี ลักษณะรายการและรายละเอียดของบัตรประจําตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ และปรับปรุงแบบคําขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจําตัวประชาชน ให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
2 ก.ย. 48
กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2547
กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2547
ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547
กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547
ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาเฉพาะทาง พ.ศ. 2547
กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาเฉพาะทาง พ.ศ. 2547
ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอเรื่อง การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป โดยส่วนราชการทั้งหมดให้จดชื่อโดเมนในหมวด go.th รัฐวิสาหกิจให้จดชื่อโดเมนในหมวด co.th องค์การมหาชนอิสระให้จดในหมวด or.th และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐให้พิจารณาจดชื่อโดเมนในหมวดที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานในระดับกระทรวงทั้งหมดให้จดชื่อโดเมน โดยขึ้นต้นด้วย “mo” ตามด้วยอักษรที่แสดงชื่อย่อที่เป็น acronym ของกระทรวงไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากเกิน 2 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 3 ตัวอักษร ให้ยกเว้นไม่ต้องใส่ตัวอักษร “o” ใส่แต่ตัวอักษร “m” ตามด้วยชื่อย่อ และหากเกิน 3 ตัวอักษร หรือซ้ำกับกระทรวงอื่น ให้ขึ้นต้นด้วย “m-” ตามด้วยชื่อเต็มที่สื่อชื่อกระทรวงได้ดีที่สุด ส่วนหน่วยงานภาครัฐในระดับกระทรวง กรม หรือเทียบเท่ากรม (ครอบคลุมทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนอิสระ และหน่วยงานรัฐประเภทอื่นๆ หากมี) ให้กระทรวงต้นสังกัดกำหนดชื่อโดเมนในลำดับที่ 3 ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีความพร้อม สามารถจองชื่อไว้ก่อนได้ รวมทั้งหน่วยงานในระดับต่ำกว่ากรมสามารถจองหรือจดชื่อโดเมนลำดับที่ 3 ได้เช่นกัน หากมีความพร้อม และ/หรือใช้ชื่อโดเมนในลำดับที่ 4 ภายใต้กรมหรือกระทรวงต้นสังกัดก็ได้ และในการจดทะเบียนภายใต้ .go.th จะต้องมี domain name administrator ซึ่งควรจะเป็นปลัดกระทรวง ในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกระทรวง อธิบดีหรือเทียบเท่าในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมโดยตำแหน่ง