การใช้เลขไทยในเอกสารราชการ

สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งขอความร่วมมือให้ส่วนราชการไทยใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เลขไทย ดังรายละเอียด

คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับการดูแลกำชับให้หน่วยราชการทุกแห่งใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยราชการ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนชาวไทยในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อมิให้วัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ และโดยที่ต้องขอให้หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติในการใช้เลขปีพุทธศักราช (พ.ศ.) แทนการใช้เลขคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ในกิจกรรมทุกด้าน จึงมีมติ ดังนี้

1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐต่างๆ สนับสนุนในการใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของทางราชการ

2. ให้ขอความร่วมมือสถานีวิทยุ สถานีวิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชนอื่น และภาคเอกชนให้ใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราช เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์เอกลักษณะของชาติต่อไป

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ครั้งที่ 129 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มีการพิจารณาศึกษาการใช้เลขศักราชของหน่วยราชการที่มีการใช้เลข 2000 กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีกระแสวัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ กิจกรรมแทบทุกด้านของภาคเอกชนมีการใช้เลขศักราชเป็น 2000 เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง อันอาจจะส่งกระทบต่อเอกลักษณ์ของไทยในอนาคต จนกลายเป็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ยาก

นอกจากนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ศึกษาการใช้ปีศักราชแล้ว ปรากฏดังนี้

1. ปีศักราชมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยได้มีการใช้หลายอย่างตามความนิยมของแต่ละยุคสมัย คือ มีทั้งพระพุทธศักราช (พ.ศ.) มหาศักราช จุลศักราช (จ.ศ.) และรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หรือแม้แต่คริสศักราช (ค.ศ.)

2. ส่วนการใช้พระพุทธศักราชในราชการทั่วไปนั้น เกิดจากพระราชดำริและพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ตามประกาศวิธีนับวันเดือนปีซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 เป็นพระพุทธศักราช 2455 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช 2483 ใช้บังคับก็ยังคงใช้เลขปีศักราชเป็นปีพระพุทธศักราชต่อไป

3. สำหรับในการบริหารงานเอกสารของทางราชการได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ โดยกำหนดให้ใช้เลขปีพุทธศักราชในการออกหนังสือราชการทั่วไป นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้เคยมีหนังสือแจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจและให้ส่วนราชการถือปฏิบัติในการระบุคำว่า “พ.ศ.” ในแบบคำสั่ง ระเบียบ ประกาศ หรือหนังสือรับรองเพื่อให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันอีกด้วย จึงให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติตามนี้

คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันคนไทยมักใช้ภาษาอังกฤษในกิจกรรมต่างๆ เช่น เสื้อนักกีฬา จึงขอให้รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยในกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี ภาษาต่างประเทศซึ่งเป็นภาษาที่สองก็ยังมีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน

–ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)–วันที่ 2 พฤษภาคม 2543–

Read more

ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย

วันที่ 7 ก.ย. 2553 ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [[ (สอซช.)  หรือ Software Industry Promotion Agency  เรียกโดยย่อว่า SIPA]] และกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) โดยมตินี้ประกาศให้ใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ

Read more

การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอเรื่อง การตั้งชื่อโดเมนแบบใหม่ตามโครงสร้างส่วนราชการภายหลังการปฏิรูป โดยส่วนราชการทั้งหมดให้จดชื่อโดเมนในหมวด go.th รัฐวิสาหกิจให้จดชื่อโดเมนในหมวด co.th องค์การมหาชนอิสระให้จดในหมวด or.th และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐให้พิจารณาจดชื่อโดเมนในหมวดที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานในระดับกระทรวงทั้งหมดให้จดชื่อโดเมน โดยขึ้นต้นด้วย “mo” ตามด้วยอักษรที่แสดงชื่อย่อที่เป็น acronym ของกระทรวงไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากเกิน 2 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 3 ตัวอักษร ให้ยกเว้นไม่ต้องใส่ตัวอักษร “o” ใส่แต่ตัวอักษร “m” ตามด้วยชื่อย่อ และหากเกิน 3 ตัวอักษร หรือซ้ำกับกระทรวงอื่น ให้ขึ้นต้นด้วย “m-” ตามด้วยชื่อเต็มที่สื่อชื่อกระทรวงได้ดีที่สุด ส่วนหน่วยงานภาครัฐในระดับกระทรวง กรม หรือเทียบเท่ากรม (ครอบคลุมทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนอิสระ และหน่วยงานรัฐประเภทอื่นๆ หากมี) ให้กระทรวงต้นสังกัดกำหนดชื่อโดเมนในลำดับที่ 3 ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีความพร้อม สามารถจองชื่อไว้ก่อนได้ รวมทั้งหน่วยงานในระดับต่ำกว่ากรมสามารถจองหรือจดชื่อโดเมนลำดับที่ 3 ได้เช่นกัน หากมีความพร้อม และ/หรือใช้ชื่อโดเมนในลำดับที่ 4 ภายใต้กรมหรือกระทรวงต้นสังกัดก็ได้ และในการจดทะเบียนภายใต้ .go.th จะต้องมี domain name administrator ซึ่งควรจะเป็นปลัดกระทรวง ในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกระทรวง อธิบดีหรือเทียบเท่าในกรณีของชื่อโดเมนของหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมโดยตำแหน่ง

PDF Pic

20021219-name-domain