การ Transformation ของ Service Development Process ในยุคดิจิทัล

การให้บริการดิจิทัลในยุคที่ผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลายและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากๆ หมายความว่าผู้ออกแบบบริการต้องมีวิธีการใหม่ๆด้วยรายงานกว่า 130 หน้านี้ คือ คู่มือการออกแบบบริการดิจิทัล หรือ Service Design Playbook ที่แม้ว่าจะเน้นบริการภาครัฐแต่ก็สามารถใช้กับบริการของเอกชนได้ด้วย หลักใหญ่ๆของการออกแบบบริการในยุคดิจิทัลคือ กระบวนการต่างๆต้องมีความยืดหยุ่นที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการที่เอาแนวคิดของ Design Thinking และ Agile Development มาใช้ เราต้องหาจุดที่เข้าไปแทรกในกระบวนการที่ เหมาะสมและลงตัวให้ได้นั่นเอง

ที่มา  : https://www.facebook.com/DigitalTransformationTH/posts/1193948244422078

Data Quality Playbook

คุณภาพข้อมูล หรือ Data Quality เรามักจะคิดถึง “ข้อมูล” ในลักษณะที่เป็นฐานข้อมูล ข้อมูลที่เป็นตัวเลข แต่ในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรแล้ว ข้อมูลประเภทเอกสารที่มีตัวเลขในแบบรายงานต่างๆก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีความต้องการที่ต้องให้มีคุณภาพเหมือนกัน คู่มือจัดการคุณภาพข้อมูลเล่มนี้ เน้นไปที่ข้อมูลในด้านการเงินการคลังของภาครัฐของอเมริกา ที่กรมต่างๆต้องส่งให้กระทรวงการคลัง เช่น งบประมาณ บัญชี หรือทรัพย์สินต่างๆ ดังนั้น “คุณภาพข้อมูล” ในลักษณะนี้ต้องการมากกว่าความถูกต้องเท่านั้น มันรวมความถึง “การควบคุม” ในกระบวนการหรือ Flow ของข้อมูลด้วย นี่คือ คู่มือสำหรับ นักบัญชี นักการเงิน และ ผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อที่จะได้เข้าใจทำอย่างไรจะได้คุณภาพข้อมูล
ที่มา : https://www.facebook.com/dataOfeverything/posts/695087028551750

Driving Digital Transformation in Higher Education

Digital transformation (Dx) is more than merely migrating paper records to a computer, and it is more than adopting technologies to perform business operations faster and more efficiently. As we at EDUCAUSE define it, Dx is “a series of deep and coordinated culture, workforce, and technology shifts that enable new educational and operating models and transform an institution’s business model, strategic directions, and value proposition.”1 Dx runs wide and deep across the whole institution, requiring innovative leadership at all levels, as well as advanced cross-unit coordination. And it demands flexibility and agility that will stretch higher education beyond the comforts of its traditions.

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

 

Government data management for the digital age

Digital society’s lifeblood is data—and governments have lots of data, representing a significant latent source of value for both the public and private sectors.1 If used effectively, and keeping in mind ever-increasing requirements with regard to data protection and data privacy, data can simplify delivery of public services, reduce fraud and human error, and catalyze massive operational efficiencies.

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

Read more

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565

เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของประเทศ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ “Thailand e-Government Interoperability Framework” (TH e-GIF) เวอร์ชั่น 2.0 นําเสนอเนื้อหาด้านแนวทางการปฏิบัติ เพื่อนําไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการสร้างระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการร่วมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือการจัดทำมาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

การจัดทำมาตรฐานข้อมูล วิธีการจัดตั้งคณะทำงาน และกระบวนการจัดทำรายการมาตรฐานข้อมูลร่วม ตลอดจนขั้นตอนปฏิบัติในการพัฒนาระบบข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงกระบวนการและข้อมูลระหว่างระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

PDF Pic

ดาวน์โหลดเอกสาร

เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน

เอกสารวิชาการ Academic Focus บัตรประจำตัวประชาชน โดยสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดาวน์โหลดเอกสาร

คู่มือการเตรียมสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ

สื่อดิจิทัลในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมากที่มาร่วมกันทำงานผ่านเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งสื่อดิจิทัลจำนวนมากอาจจะเกิดปัญหาจากการใช้งาน จากการสร้างสรรค์ เช่น การที่ไม่สามารถเปิดแฟ้มเอกสารดิจิทัลเพราะความแตกต่างของรุ่น (Version) ของโปรแกรมที่ใช้สร้าง/เปิดแฟ้มเอกสาร การจัดหน้าเอกสารที่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ การแสดงผลภาษาไทย
ที่ผิดพลาดทั้งประเด็นจากแบบอักษร (Font) และการเข้ารหัสภาษาไทย (Thai Encoding) รวมถึงปัญหาจากการละเมิดลิขสิทธิ์ การกำหนดแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสื่อดิจิทัลเพื่อให้ได้คุณภาพ จึงมีความจำเป็น และหน่วยงานต้องกำหนดเป็นแนวปฏิบัติระดับองค์กรร่วมกัน

ดาวน์โหลดเอกสาร

ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ

การจัดทำสื่อดิจิทัลที่ผ่านมามักจะเน้นการใช้งานโปรแกรมสร้างสรรค์สื่อ มากกว่าการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานการเข้ากันได้เมื่อนำสื่อดิจิทัลไปใช้งาน หรือแลกเปลี่ยนข้ามระบบ ส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลายในการใช้งาน รวมถึงปัญหาจากการพัฒนาระบบคลังข้อมูลดิจิทัล คลังความรู้ดิจิทัลที่เกิดจากความร่วมมือของทุกคนในองค์กร หน่วยงาน เครือข่าย

STKS/สวทช. ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล จึงได้นำประสบการณ์จากการปฏิบัติ จากการวิจัยแปลงความรู้เป็นเอกสารเล่มนี้ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นสำหรับทุกท่าน ทุกหน่วยงานได้กำหนดแนวทางหรือมาตรฐาน การพัฒนาสื่อดิจิทัลภายในหน่วยงาน/องค์กรของท่าน ทั้งนี้เอกสารชุดนี้เป็นฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 3

ดาวน์โหลดเอกสาร