พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณา “ขอบเขตของหน้าที่/ภารกิจ” ในมุม “นวัตกรรมการศึกษา”
ห้องสมุดเอกสารสาธารณะอ้างอิงเพื่อการพลิกโฉมรัฐบาลไปสู่ดิจิทัล (Government Digital Transformation)
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณา “ขอบเขตของหน้าที่/ภารกิจ” ในมุม “นวัตกรรมการศึกษา”
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งส่งผลต่อฐานความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจต่างมีความต้องการนําระบบเทคโนโลยีด้านดิจิทัลดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการ เพื่อประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับหรือการพัฒนาในการแข่งขันทางธุรกิจของภาคเอกชน แต่ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบที่จะสามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนําไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศครอบคลุมการดําเนินงานในด้านต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและการวางโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอย่างเป็นระบบเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดําเนินงานและส่งเสริมกิจกรรมในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจํานวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กําหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จําเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ทําให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคําขออนุญาตดําเนินการต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้องและศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตรประจําตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจําตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจําตัวประชาชน ดาวน์โหลดเอกสาร
เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ…. เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ชุดที่มีนายสมัดร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนครี ต่อประธาน
สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ดาวน์โหลดเอกสาร
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
ด้วยมีมติให้สถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา เสนอเป็น องค์การมหาชน จึงต้องศึกษารายละเอียดการจัดตั้งองค์การมหาชนควบคู่ไปพร้อมกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๒๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
“วรรณกรรม” หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วย
“โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด